เขียน LaTeX ด้วย VSCode และ TeX Live Docker Image — EP1
บันทึกการเขียน LaTeX ด้วย VSCode โดยใช้ TeX Live Docker Image และ การใช้ Visual Studio Code Remote — (SSH,Container) และ Visual Studio Code LaTeX Workshop Extension
โดยปกติผมรู้จัก LaTeX มานานแต่ไม่เคยเข้าถึงมันเลย ใช้แค่ระดับทดสอบไม่ได้ใช้จริงจังเป็นกิจวัตรดังนั้นหลายๆ อย่างก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง ช่วงนี้ก็นำเอามาใช้งาน เช่นตัวช่วยสร้าง PDF และ ลองเขียนโน้นนี่ไปเรื่อย ปกติเครื่องมือที่ใช้เขียน LaTeX มีหลายตัว แต่ในบันทึกครั้งนี้ผมจะใช้ VSCode + Visual Studio Code Remote — (SSH,Container) Extension+ Visual Studio Code LaTeX Workshop Extension และ TeX Live Docker Image ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งบนเครื่องส่วนตัว และ การตั้งเป็น Server ให้เพื่อนร่วมทีมเข้ามาใช้งานร่วมกันได้
EP1 จะเป็นเรื่องการเตรียม Docker Container นะครับ ส่วน EP 2 จะแนะนำการเขียน LaTeX เบื้องต้น
บันทึกนี้มีอยู่สองสามวิธีค่อยๆ อ่านนะครับอาจจะงงๆ ไปบ้างแต่ถ้าเข้าใจก็จะใช้มันสนุกมาก ถ้าใช้งานปกติใช้ แบบ Remote — Container จะง่ายสุด แต่ถ้าใช้หลายๆ คนบน Server แบบ Remote — Container มันอาจจะยุ่งยากหน่อยเรื่อง docker context เราอาจจะใช้แบบ SSH เข้ามาช่วยก็ได้
Run TeX Live Docker Container
สำหรับ Docker Image ที่ใช้ผมสร้างไว้ใช้เองรายละเอียดอ่านด้านล่างของบทความ
TeX Live Only Image
docker run -itd \
--hostname texlive \
--name texlive \
-v ${PWD}/datas:/root/data \
mrchoke/texlive
ข้างบนจะใช้ options ดังนี้
- hostname จะตั้งหรือไม่ก็ได้แต่ถ้าตั้งไว้ตอน ssh เข้าไป prompt ก็จะขึ้นชื่อแทน hash ของ ID
- name จะตั้งหรือไม่ก็ได้ถ้าตั้งก็จะง่ายตอนจัดการเช่น ps ดูก็เข้าใจง่าย จะสั่ง stop start restart หรือ delete ด้วยชื่อก็ง่ายหน่อย
- v mount volume เข้าไปเพื่อจะได้จัดการ files งานของเราได้ง่ายเวลาลบ container ทิ้ง files จะได้ไม่หาย (สำหรับ Windows 10 ให้ใช้บน PowerShell ${PWD} ถึงจะทำงานได้ถูกต้อง)
- mrchoke/texlive เป็น image ที่ผม publish ไว้ที่ hub.docker
With SSH
docker run -itd \
--hostname texlive \
--name texlive \
-v ${PWD}/datas:/root/data \
-p 2222:22 \
mrchoke/texlive:2021-ssh
- p ในกรณีที่ run docker เพื่อแชร์กับเพื่อนๆ ให้ bind port 22 มายัง host เพื่อจะได้ ssh เข้าไปได้ตรงนี้ถ้ากำหนด 2222:22 ก็จะ bind ที่ 0.0.0.0 ใครก็ได้สามารถเข้ามายังเครื่องเราได้ถ้าเป็น public server ก็ต้องระวังให้ดีซึ่งเราสามารถ กำหนดเป็น 127.0.0.1:2222:22 หรือ 192.168.0.1:2222:22 ก็แล้วแต่เราจะเข้มงวดการเข้าถึงขนาดไหน แต่ถ้าใช้คนเดียวไม่จำเป็นต้อง bind นะครับเราสามารถใช้ Remote Container Extension เข้ามาได้เลย
With authorized_keys
docker run -itd \
--hostname texlive \
--name texlive \
-v ${PWD}/datas:/root/data \
-v ${PWD}/.ssh:/root/.ssh \
-p 2222:22 \
mrchoke/texlive:2021-ssh
หรือถ้าใครต้องการใช้ ssh-key ในการ login ก็สามารถ mount .ssh ที่มี file authorized_keys เข้าไปใน /root ของ container ก็ได้
ลองตรวจสอบว่า docker สามารถ run ได้สำเร็จหรือไม่
TeX Live Only
docker ps
CONTAINER ID IMAGE COMMAND CREATED STATUS PORTS NAMES
f7615fbdb871 mrchoke/texlive “/bin/sh” 6 seconds ago Up 5 seconds texlive
With SSH
docker ps
CONTAINER ID IMAGE COMMAND CREATED STATUS PORTS NAMES
24ad39e3cae9 mrchoke/texlive:2021-ssh "/usr/sbin/sshd -D" 4 seconds ago Up 3 seconds 0.0.0.0:2222->22/tcp texlive
ข้อดี — ข้อเสีย
TeX Live Only
- ใช้บนเครื่องเราได้เลยไม่ต้องเปิด port เพิ่มเติม exec เข้าไปใช้งานได้ปกติ
- เชื่อมต่อกับ VSCode Remote — Container ได้เลยสะดวกมาก
- ใช้งานร่วมกันอาจจะต้องใช้ผ่าน git ในการจัดการอาจจะ conflict กันได้ถ้าจัดการแบ่งงานกันไม่ดี
- ถ้าใช้บน Server ทางฝั่ง Client ต้องใช้ Docker context ซึ่งอาจจะยุ่งยากไปบ้าง
With SSH
- กรณีใช้งานร่วมกันหลายคนบน Server เราสามารถสร้าง user เข้ามาใช้งานใน container ที่เราสร้างขึ้นไม่ยุ่งกับ user บนระบบจริง
- กรณีเขียนร่วมกันเข้าไปที่เดียวกันได้เลยแต่ต้องแบ่งกันเขียนเป็นส่วนๆ ไปจะได้ไม่ทับกัน
- กรณีใช้ VSCode เข้าไปยัง Server ก็ใช้ผ่าน Remote — SSH ได้เลยสะดวกกว่าแบบ Docker Context
- มันเหมือน Linux Server เครื่องหนึ่งดีๆ นี่เอง
- ถ้าทำบนระบบที่ public ก็ต้องระวังผู้ไม่หวังดีบุกรุกเพราะความปลอดภัยไม่ได้ตั้งไว้สูง
Remote (SSH,Container)
หลังจาก Start Container เรียบร้อยแล้วเราสามารถเข้าไปยัง container ได้ 3 รูปแบบคือ
- docker exec เข้าไปใช้งาน
docker exec -it texlive bash
- SSH
ใช้ port ที่ bind ไว้ตอน run ครั้งแรก
ssh -p 2222 root@localhost
หรือ ในกรณีเข้าไปยัง server
ssh -p 2222 root@server-ip
ถ้าไม่ได้ใช้ ssh-key ก็ใส่รหัสผ่าน default 123456 แต่ถ้าจะเปลี่ยนรหัสผ่านก็สามารถใช้คำสั่ง
docker exec -it texlive passwd
- Visual Studio Code Remote — (SSH,Container)
ซึ่งจะใช้ความสามารถของ VSCode Remote Extension จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
Visual Studio Code Remote — (SSH,Container)
VSCode Remote — Container (localhost)
วิธีนี้ไม่จำเป็นต้อง bind port ssh ออกมานะครับ เพราะเราจะใช้ VSCode เข้าไปใช้งาน Container โดยตรงบนเครื่องของเราเอง โดย Click ที่ icon รูป computer บน Side Bar ด้านซ้านมือ
หลังจากนั้นให้ click เลือก Target ของ Remote Extension
มันจะมีสองแบบคือ
- Containers
- SSH Targets
วิธีนี้ให้เลือก Containers
ถ้าเรา start container ไว้ก็ควรจะเห็นเหมือนในภาพตัวอย่างด้านบนให้เรา Click ขวาบนชื่อ container ที่เราต้องการจะเข้าไปใช้งาน
และให้เลือก Attach to Container หลังจากนั้นก็จะมีหน้าต่างใหม่เปิดขึ้นมาพร้อมเข้าไปยัง directory ที่เราได้ทำการ mount ไว้ตอนสั่ง run คือ /root/data นั่นเอง
VSCode Remote — Container (Over SSH)
สำหรับการใช้ Remote — Container สามารถใช้งานข้ามเครื่องได้โดยการใช้ความสามารถของ Docker ผ่าน DOKCER_CONTEXT หมายความว่า
- เราต้องเปิด Docker ทั้งฝั่ง Client และ Server
- เราต้องสามารถ SSH เข้าไปยัง Server ได้
- มีสิทธิใช้งาน Docker ได้
วิธีการง่ายๆ คือ เราสั่ง docker run texlive image ไว้ที่ฝั่ง Server แล้วเลือก DOCKER_CONTEXT ขี้ไปที่เครื่อง Server หลังจากนั้น ตัว Extension ก็จะสามารถ attach มาใช้งานเปรียบเสมือนอยู่บนเครื่องเราเอง
Create Docker Context
สร้าง Docker Context สำหรับการเชื่อมต่อไปยัง Server ผ่านทาง SSH
docker context create texlive --docker "host=ssh://mrchoke@192.168.1.17"
- texlive คือชื่อของ context ที่สร้างขึ้นมาจะใช้ชื่ออะไรก็ได้
- — docker บอก option สำหรับการเชื่อมต่อซึ่งตัวอย่างจะเป็น ssh:// ตามด้วย user และ hostname/IP ถ้า port ไม่ใช้ 22 ก็ให้ใส่เพิ่มหลัง IP ได้ เช่น "host=ssh://mrchoke@192.168.1.17:2222"
ลองตรวจสอบดูครับว่าตอนนี้มี context อะไรอยู่บ้าง
docker context ls
NAME TYPE DESCRIPTION DOCKER ENDPOINT KUBERNETES ENDPOINT ORCHESTRATOR
default * moby Current DOCKER_HOST based configuration unix:///var/run/docker.sock swarm
texlive moby ssh://mrchoke@192.168.1.17
จะเห็นรานการทั้งหมดของ context ซึ่งตัวปัจจุบันที่ใช้อยู่จะมีเครื่องหมาย * อยู่หลังชื่อปกติจะเป็น defualt
การเลือกใช้ context
ทำได้สองแบบคือ
- แบบชั่วคราว
ให้ใช้ตัวแปร DOCKER_CONTEXT เลือก context ที่ต้องการ วิธีนี้ต้องพิมพ์แบบนี้ทุกครั้งหน้าคำสั่ง docker ซึ่งจะยุ่งยากแต่เหมาะกับการใช้แบบครั้งคราว
DOCKER_CONTEXT=texlive docker ps
- แบบ Global
วิธีนี้สามารถสั่งด้วย command โดยตรงก็ได้ หรือ จะใช้ docker extension ของ VSCode เลือกก็ได้ หลังจากเลือกแล้วทุกครั้งที่สั่งคำสั่ง docker สิ่งที่เห็นคือทางฝั่ง server ที่ context ชี้ไป
docker context use texlive
docker ps
*** สำหรับเครื่อง Server ที่ติดตั้ง docker ไว้ใน path อื่นนอกเหนือจาก /usr/bin ฝั่ง client จะไม่สามารถหาคำสั่ง docker ได้ต้องตั้งค่า sshd เพิ่มเติมคือให้แก้ไข
/etc/ssh/sshd_config
โดยเพิ่ม หรือ แก้ PermitUserEnvironment ให้เป็น yes
PermitUserEnvironment yes
แล้วกำหนด PATH ใน
~/.ssh/environment
เช่นใน macOS docker จะอยู่ใน /usr/local/bin/docker ก็ให้ตั้ง
PATH=/usr/local/bin:/bin:/usr/bin:/sbin:/usr/sbin
จากที่ทดลองเล่นตัว Docker Extension มันจะดึงข้อมูลทางฝั่ง Server มาไม่ค่อยได้ จะ error เหมือนรูปด้านบน แต่ตัว Remote — Container จะเห็นปกติ แต่ก็มีเอ๋อบ้างบางครั้งนะครับ
ถ้าได้แบบรูปด้านบนก็สามารถใช้งานเหมือน container อยู่บนเครื่องตัวเองได้เลยครับ
Visual Studio Code Remote — SSH
ส่วน Remote — SSH นั้นเราต้องสั่ง run พร้อมกับ bind port ออกมาด้วยนะครับตัวอย่างของผมจะ bind ไว้ที่ 2222 ซึ่งสมมติว่าผมจะ remote ไปยังเครื่อง server ละกันจริงๆ เครื่องตัวเองนั้นแหละ ฮาๆ
ให้เลือกการเชื่อมต่อแบบ SSH ด้านบนก่อนนะครับ หลังจากนั้นให้กดเครื่องหมาย +
ให้ใส่คำสั่งเหมือนกับที่เราสั่งบน terminal ปกติได้เลยจากตัวอย่างเช่น
ssh -p2222 root@localhost
ตรงนี้ถ้าเป็นเครื่อง server ก็ให้ใส่ IP หรือชื่อ Host แทน localhost
หลังจากนั้นก็จะถามว่าจะให้ save config นี้ไว้ที่ไหนวิธีที่ง่ายที่สุดคือตัวเลือกแรกคือให้เก็บไว้ใน .ssh/config ใน HOME ของเราเอง
หลังจากที่เราป้อนคำสั่งแล้วจะมีรายชื่อเพิ่มขึ้นมาคือ localhost นั่นเอง รายชื่อตรงนี้เราสามารถเข้าไปจัดการได้โดยตรงใน file .ssh/config สามารถตั้งชื่อให้ได้ หรือจะเพิ่มรายการเข้าไปเองโดยตรงก็ได้เช่นกัน
หลังจากนั้นให้ Click ขวาบนชื่อ SSH Targets ที่เราต้องการจะ Connect เลือกว่าจะเปิดในหน้าต่างปัจจุบันหรือหน้าต่างใหม่
ถ้าเราเข้าครั้งแรกจะมีการให้ confirm ก่อนโดยเลือก Continue
ถ้าไม่ได้ใช้ ssh-key ก็ให้ใส่รหัสผ่าน ถ้า default ก็ใส่ 123456 ถ้าเปลี่ยนรหัสผ่านไปแล้วก็ให้ใส่ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าตั้ง ssh-key ก็จะไม่มีหน้าต่างนี้
การ Connect ไปยัง SSH Server ครั้งแรกจะช้าหน่อยเพราะมีการติดตั้ง VSCode Server ก่อน แต่ถ้าครั้งต่อไปก็จะเร็วกว่า นอกจากจะมีการ Upgrade Version ของ VSCode
ถ้า Connect สำเร็จก็จะขึ้นหน้าต่างดังรูปด้านบนซึ่งจะมีหน้าต่าง Terminal ด้านล่างให้ด้วยเราสามารถพิมพ์คำสั่งของ Linux ในนี้ได้เลย
Visual Studio Code LaTeX Workshop Extension
หลังจากนี้ให้ติดตั้ง Visual Studio Code LaTeX Workshop Extension เพิ่มทางฝั่ง Remote ทำเหมือนกันทั้ง SSH และ Container
Open Folder
เมื่อติดตั้ง Extension เสร็จพร้อมใช้งานแล้วถ้าเป็น Remote SSH เราต้องเปิด Folder ก่อนส่วน Remote Container จะเปิดให้แล้วตั้งแต่แรก วิธีเปิดก็ Click ที่ icon files บน Side Bar ด้านซ้าย
โดยปกติแล้วจะมีช่องให้เลือกโดยเริ่มใน Home Directory ของ root ตอนสั่ง run ผมได้ mount ไว้ที่ /root/data ก็ให้ click ที่ Folder data ได้เลยครับ
หลังจากนั้นก็จะปรากฎหน้าต่าง Work Space สำหรับการทำงานขึ้นมาโดยชื่อในช่อง Explore ด้านซ้ายจะเป็น Folder ที่เราเลือกไว้เมื่อตะกี้
EP2 จะแนะนำการใช้งาน pdfLaTeX และ XeLaTeX เบื้องต้นต่อไปครับ
เขียน LaTeX ด้วย VSCode และ TeX Live Docker Image — EP2
TeX Live Docker Image
เป็น Image ที่ผม Build ไว้ใช้เองสำหรับการเขียนเอกสารซึ่งจะมี Python พ่วงเข้าไปด้วย สามารถดู Dockerfile ได้ที่
วิธี Build ที่ publish ไว้ใน docker hub ผมใช้ buildx โดยให้ใช้ได้ทั้ง amd64 และ arm64 หมายถึงสามารถใช้บน Docker บนเครื่อง Apple M1 ได้ด้วย
docker buildx build --platform linux/arm64,linux/amd64 -t mrchoke/texlive:2021 -t mrchoke/texlive:2021.1 -t mrchoke/texlive:latest --push .
ปกติการติดตั้ง TeX Live ฉบับเต็มจะใช้เนื้อที่ราวๆ 8 GB ในตัว Image ข้างบนผมจะตัดพวก Doc กับ Src ออกเนื้อที่จะลดลงมาเกือบๆ 50% อยู่ที่ราวๆ 4.5 GB
Top comments (0)