DEV Community

Pallat Anchaleechamaikorn
Pallat Anchaleechamaikorn

Posted on • Edited on

go env part 1

วันนี้จะอธิบายค่า env ของภาษา go บางส่วนเท่าที่ใช้กันบ่อยๆว่ามันมีอะไรบ้างและใช้ทำอะไรนะครับ

วิธีดู env ของ go ทำได้ด้วยการรันคำสั่ง

go env
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

จะได้ผลลัพธ์ออกมาประมาณนี้ ซึ่ง version ที่ผมใช้ตอนนี้คือ go1.18rc1 darwin/arm64

GO111MODULE=""
GOARCH="arm64"
GOBIN=""
GOCACHE="/Users/pallat/Library/Caches/go-build"
GOENV="/Users/pallat/Library/Application Support/go/env"
GOEXE=""
GOEXPERIMENT=""
GOFLAGS=""
GOHOSTARCH="arm64"
GOHOSTOS="darwin"
GOINSECURE=""
GOMODCACHE="/Users/pallat/go/pkg/mod"
GONOPROXY=""
GONOSUMDB=""
GOOS="darwin"
GOPATH="/Users/pallat/go"
GOPRIVATE=""
GOPROXY="https://proxy.golang.org,direct"
GOROOT="/Users/pallat/sdk/go"
GOSUMDB="sum.golang.org"
GOTMPDIR=""
GOTOOLDIR="/Users/pallat/sdk/go/pkg/tool/darwin_arm64"
GOVCS=""
GOVERSION="go1.18rc1"
GCCGO="gccgo"
AR="ar"
CC="clang"
CXX="clang++"
CGO_ENABLED="1"
GOMOD="/dev/null"
GOWORK=""
CGO_CFLAGS="-g -O2"
CGO_CPPFLAGS=""
CGO_CXXFLAGS="-g -O2"
CGO_FFLAGS="-g -O2"
CGO_LDFLAGS="-g -O2"
PKG_CONFIG="pkg-config"
GOGCCFLAGS="-fPIC -arch arm64 -pthread -fno-caret-diagnostics -Qunused-arguments -fmessage-length=0 -fdebug-prefix-map=/var/folders/bz/hndgj2qd4n3_57k3y1l752tc0000gq/T/go-build1263010388=/tmp/go-build -gno-record-gcc-switches -fno-common"
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

เราจะไม่อธิบายทุกค่าตอนนี้นะครับ แต่จะอธิบายค่าที่อาจจะมีโอกาสใช้บ่อยๆก่อน

ก่อนอื่นขออธิบาย 4 ตัวนี้ก่อน เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกัน นั่นก็คือ

GOOS, GOARCH, GOHOSTOS, GOHOSTARCH

GOHOSTOS คือ OS ของ Go binary ที่กำลังใช้อยู่ในเครื่องนั้น เช่นถ้าเราใช้ MacOs ค่านี้จะเป็น darwin เป็นต้น

GOOS คือ OS ที่จะนำไป execute หรือพูดง่ายๆก็คือ ใช้กำหนด OS ที่ต้องการเอาโปรแกรมที่เราเขียนไปรันเมื่อ compile ออกมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เราเขียนโค้ดอยู่บน Mac ซึ่ง GOOS จะเริ่มต้นที่ค่า darwin เพราะเรา compile เครื่องไหน เราก็สามารถ รันที่เครื่องนั้นได้โดยตรง แต่ถ้าต้องการ compile แล้วให้ไปรันที่ OS อื่นเช่น linux เราก็แค่เปลี่ยนค่า GOOS=linux ก็จะสามารถ compile โปรแกรมไปรันบน linux ได้เลย

GOHOSTARCH ก็คล้าย GOHOSTOS คือเป็น architecture ของ CPU ของ Go binary ที่เราใช้ในเครื่องนั้น เช่น ถ้าเราใช้บนเครื่อง Mac ที่มี CPU เป็น M1 ค่านี้ก็จะเป็น arm64 เป็นต้น

GOARCH คือ architecture ที่จะทำเอาโปรแกรมไป execute หรือพูดง่ายๆคือ อยากให้ compile โปแกรมไปรันบน CPU แบบไหน ก็สามารถกำหนดได้ที่ค่านี้ เช่นเราเขียนบน CPU M1 แต่อยากเอาไปรันบน CPU intel ก็สามารถกำหนดค่านี้เป็น GOARCH=amd64 เป็นต้น

ซึ่งค่า OS/ARCH สามารถดู list ได้ด้วยคำสั่งนี้

go tool dist list
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

ส่วนวิธีการกำหนดค่าเหล่านี้ สามารถกำหนดลงไปตรงๆที่ OS env ได้เลย เช่นถ้าใน linux/MacOS สามารถใช้คำสั่ง

export GOOS=linux
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

แบบนี้ได้เลย หรือสามารถสั่งให้ Go จำค่านี้ไว้เองก็ได้ด้วยการใช้คำสั่ง

go env -w GOOS=linux
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

เป็นต้น

และเมื่อพูดถึงเรื่องการใช้คำสั่งนี้ ก็เลยจะต้องกล่าวถึงอีกค่าหนึ่งนั่นก็คือ

GOENV ใช้กำหนด file ที่จะเก็บค่า env ที่เราสั่งผ่านคำสั่งเมื่อครู่นี้นั่นเองโดยเบื้องต้นมันจะมีค่า default ตั้งมาให้อยู่แล้วด้วย เพียงแต่ถ้ายังไม่เคยมีการ override ค่าใดใด มันก็อาจจะยังไม่มีไฟล์นั้นเกิดขึ้นมา

GOROOT ค่านี้จะเป็น root directory ของ go toolchain ที่เราติดตั้งไว้บนเครื่อง ซึ่งถ้าเราติดตั้งด้วยตัว installer มันจะเอา go toolchain ไปวางไว้ที่ใดที่หนึ่งเช่น GOROOT="/usr/local/go" แต่ถ้าเราติดตั้งเอง เมื่อ download go ลงมาและ extract เรียบร้อย จะได้ directory ชื่อ go มาตัวหนึ่ง เราสามารถเอา directory นี้ไปวางไว้ที่ไหนก็ได้ตามที่เราต้องการ และก็กำหนดค่า GOROOT ให้ชี้ไปตรงนั้น

GOPATH ค่านี้คือ workspace ที่ถูกกำหนดให้เราไปเขียนโปรเจ็คเราไว้ในนั้น แต่นั่นคือก่อนหน้าที่เราจะมี Go module คือก่อน Go version 1.11 ปัจจุบันใน GOPATH จะยังคงใช้เก็บค่า default path ของ module ต่างๆที่เราใช้เป็น dependencies ซึ่งค่าเหล่านั้นก็สามารถกำหนดเป็นที่อื่นๆได้เช่นกัน

ข้อควรระวัง อย่ากำหนดค่า GOROOT และ GOPATH เป็นที่เดียวกัน

GOBIN เป็นค่า directory สำหรับวางไฟลื binary ที่เกิดจากคำสั่ง go install ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น tools ที่เขียนขึ้นจากภาษา Go เช่น gosec ที่เราใช้ scan AST เมื่อติดตั้งด้วยคำสั่ง go install github.com/securego/gosec/v2/cmd/gosec@latest ก็จะเกิด binary อยู่ใน $GOBIN นั่นเอง เพราะฉะนั้น $GOBIN ก็ควรถูก append ลงไปในค่า env PATH ของ OS ด้วย เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้ binary นั้นได้โดยตรงจากที่ใดก็ได้

GOMOD ค่านี้จะชี้ไปที่ไฟล์ go.mod เสมอ ถ้าเราอยู่ใน project ที่ใช้ go module แต่ถ้าเราอยู่นอก project ค่านี้จะชี้ไปที่ os.DevNull เช่น /dev/null บน linux แต่ถ้าเราใช้คำสั่ง go env ใน directory ของ project ที่มีไฟล์ go.mod มันก็จะชี้ไปที่ไฟล์นั้นแทน

GOMODCACHE ค่านี้เป็น directory ที่ชี้ไปที่ module ที่เรา go get มาจากภายนอก จะถูกนำมารวมไว้ใน directory นี้ และเราสามารถเคลียร์มันได้ด้วยคำสั่ง go clean -modcache

GOCACHE ค่านี้เป็น directory ที่ใช้เก็บ cache ต่างๆที่คำสั่ง go จะเอามาใช้ในอนาคตได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราใช้คำสั่ง go run main.go ความจริงมันจะเกิดการ compile และนำ binary ไปวางไว้ที่ $GOCACHE นี่แหล่ะ และสามารถเคลียร์ได้ด้วยคำสั่ง go clean -cache

วันนี้ก็ขออธิบายไว้เท่านี้ก่อนนะครับ แล้วจะมาต่อค่าอื่นๆในโอกาสต่อไป

Top comments (1)

Collapse
 
mediarise profile image
Vitaliy Edifanov

Cool, thai