DEV Community

Cover image for การหนีทุกข์ไปหาสุขถาวรของมนุษย์
Mai
Mai

Posted on

การหนีทุกข์ไปหาสุขถาวรของมนุษย์

โลกของเราเป็นธรรมชาติ ประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มาประชุมกันเป็นโลกก็เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วแตกสลายไป ไม่มีตัวตนเป็นของตนเองเช่นกัน ผลต่อเนื่องของโลกที่เกิดขึ้นคือ วัตถุ สิ่งของ บุคคล ก็เป็นธรรมชาติเหมือนกับโลก เกิดจากเหตุปัจจัย ดิน น้ำ ลม ไฟ กรรมและวิญญาณ มาประชุมชั่วคราว ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง สรุปว่าอะไรที่เกิดขึ้นบนโลกนี้เป็นธรรมชาติทั้งหมด ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไว้ว่า โลกและชีวิตเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติทั้งหมดลงอยู่ในกฎธรรมชาติ 2 กฎ คือ กฎไตรลักษณ์และกฎเหตุปัจจัยหรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป มีเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง นี่คือความจริงของโลกและชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสว่า​โลกนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิดและทุกข์เท่านั้นดับ ไม่มีวัตถุสิ่งของ สัตว์ บุคคล เกิดดับแต่อย่างใด

Image description

ในโลกนี้มีธรรมชาติชนิดหนึ่ง ไม่เหมือนกับธรรมชาติส่วนอื่นๆคือตัวมนุษย์ในตัวมนุษย์มีธรรมชาติ 2 อย่างอยู่ในตัว คือมีกายกับใจ หรือรูปกับนาม โลกภายนอกจะเห็นว่ามีแต่รูปธรรมเท่านั้น ส่วนมากเกิดจากอุตุทำให้เกิด แต่ตัวมนุษย์นั้นเกิดจากกรรมและวิญญาณ จะเห็นว่าร่างกายมนุษย์เป็นรูปธรรม มีดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกันเป็นธาตุไม่รู้อะไร ส่วนนามธรรมหรือใจก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีเวทนา (รับ) สัญญา​ (จำ) สังขาร (คิด) วิญญาณ (รู้) เป็นองค์ประกอบ ร่างกายของมนุษย์มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทวารคอยรับรู้การกระทบสัมผัสจากโลกภายนอก แล้วเอามาปรุงแต่งจากนั้นก็เอาไปจำไว้ แล้วเอาความรู้นั้นไปเลี้ยงร่างกายทุกส่วน เรียกว่าวิญญาณาหาร ไปสู่การกระทำทั้งทางใจ มโนกรรม ทางวาจา วจีกรรม ไปสู่กายกรรม การกระทำทางกาย แล้วก็เก็บเอามโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เป็นข้อมูลจำไว้ในใจ แล้วเอาไปปรุงแต่งต่อไปหาที่สิ้นสุดไม่ได้ นอกจากตายไปในชาตินี้ ทำให้เกิดวิบากกรรมแก่มนุษย์ทุกคน ทำให้มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วน

Image description

มนุษย์เป็นธรรมชาติที่มีทั้งกายและใจ หรือรูปธรรมนามธรรมอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันตลอดเวลา ทำให้เกิดวิบากกรรมที่เป็นบุญ เป็นบาป หรือสุข ทุกข์ คนเราเกิดมาจึงต้องการหนีทุกข์ไปหาสุขถาวร แต่ไปถึงได้แค่สุขชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่เป็นที่พอใจของคนเรา คนเราต้องการสุขถาวร ชีวิตจึงได้พาตัวเราไปเสาะแสวงหาสุขถาวรตลอดเวลา

Image description
ฉะนั้นมนุษย์ทุกคนจึงต้องการหนีทุกข์ไปหาสุขถาวร แต่ก็ไม่มีปัญญาที่จะรู้ได้ว่าอันไหนเป็นสุข เป็นทุกข์จริงๆได้ ต่อไปนี้จะต้องมาศึกษาเรียนรู้เรื่องทุกข์ที่เราจะต้องหนีและสุขที่เราจะไปถึง เป็นอย่างไรบ้าง
ทุกข์ของคนเรามี 2 อย่าง ดังนี้
1. ทุกข์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
2. ทุกข์ที่คนเราสร้างขึ้นมาเอง

Image description

ทุกข์อันที่หนึ่ง ทุกข์ที่ธรรมชาติสร้าง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าโลกและชีวิตเป็นธรรมชาติทั้งหมด ธรรมชาติมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลาย ฉะนั้นทุกข์ที่ธรรมชาติสร้างก็คือ ทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะมนุษย์ต้องเกิดมา เกิดมาแล้วก็แก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตายแตกสลายไป แต่สภาวะจิตของคนเราเกิดมาแล้วไม่อยากตาย ทำให้เป็นทุกข์เกิดขึ้นในใจคน แต่ธรรมชาติทุกชนิดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แตกสลายไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรมาขัดขวางได้ คนเราทุกคนที่เกิดมา จิตใต้สำนึกของคนเราต้องการหนีทุกข์ไปหาสุขถาวรหรือไม่ต้องตาย แต่คนเราเกิดมาด้วยอวิชชา ไม่มีปัญญารู้จริงเรื่องโลกและชีวิต จึงไปหลงพอใจ ไม่พอใจ สิ่งที่มากระทบสัมผัส ธรรมชาติทุกชนิดไม่มีตัวตนเป็นของตนเองทำให้คนเรมาผิดหวังไปตลอดชีวิต เพราะไปหลงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่มีตัวตน

Image description

ทุกข์อันที่สอง คือทุกข์ที่คนเราสร้างขึ้นมาเอง เช่น ทุกข์เพราะหนี้สิน ทุกข์เพราะลูก เพราะผัว เพราะเมีย และลูกหลาน มนุษย์มีทั้งกายและใจ 2 อันนี้ทำงานร่วมกันตลอดเวลา โดยมีข้อมูลสัญญาความจำ ที่เกิดจากการกระทบสัมผัสระหว่างตัวคนกับโลกภายนอก ใจเป็นธาตุรู้ จะเก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่มากระทบสัมผัสอินทรีย์ 6 เอาไว้เป็นข้อมูลสัญญาความจำ จากนั้นข้อมูลสัญญาความจำอันนั้นก็จะสั่งใจให้ทำตามข้อมูล ใจก็สั่งร่างกายทำตามข้อมูล จึงเกิดการกระทำทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ผลการกระทำที่เกิดขึ้นก็จะเป็นความทุกข์ทั้งหมดเพราะการกระทำของคนเราทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เป็นการกระทำบนฐานของความไม่รู้หรืออวิชชา หรือความพอใจไม่พอใจ ฉะนั้นการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นการดำเนินชีวิตตามความไม่รู้ ไม่ว่าทำอะไรผลของมันก็จะออกมาเป็นทุกข์ทั้งนั้น เราจะเห็นว่าทุกข์ของคนเรานี้แน่นหนามากหลายจนนับไม่ได้ ที่คนเราสร้างขึ้นมาเองโดยความไม่รู้ คนเราทุกคนต้องดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตของคนเราก็จะดำเนินตามข้อมูลที่เก็บไว้เป็นสัญญาความจำ ดูให้ดีๆแล้ว เราจะเห็นว่าข้อมูลที่สั่งให้ชีวิตของคนเราเคลื่อนไหวทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เป็นข้อมูลสร้างทุกข์ทั้งหมด คนเราจึงสร้างทุกข์ให้กับตัวเองทุกลมหายใจ เพราะการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดกรรม แล้วจึงมีผลการกระทำตามมา เรียกว่าวิบาก ส่วนมากเป็นอกุศลวิบาก กุศลมีบ้างแต่น้อยมาก ชีวิตของคนเรานั้นเป็นชีวิตที่สร้างทุกข์ให้กับตนเองตลอดเวลา ทุกข์ที่สร้างขึ้นมาท่วมท้นตัวของเรา ทำให้คนเราไม่มีโอกาสจะคิดถึงความตั้งใจของตนเองที่ว่า เกิดมาชาตินี้ต้องการมาฝึกฝนตนเองให้หมดทุกข์หรือไม่เกิดอีกต่อไป

Image description

ทำไมคนเราจึงสร้างทุกข์ให้กับตัวเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เพราะคนเราเกิดมาจากความไม่รูัหรืออวิชชา แล้วเอาความไม่รู้หรืออวิชชาไปใช้ในการดำเนินชีวิตคือ คิดผิด พูดผิด ทำผิด ผลออกมาก็คือทุกข์ คนเราทำอย่างนี้มานับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่สามารถจะแก้ไขตัวเองให้คิดถูก พูดถูก ทำถูกได้ง่ายๆ ฉะนั้นทุกข์ที่คนเราสร้างขึ้นให้กับตัวเองนั้นนับไม่ได้ เราจะเห็นว่าแต่ละวันคนเราหยุดสร้างทุกข์ให้กับตัวเองไม่ได้เลย บางครั้งเหมือนจะได้ แต่เป็นการแก้ปัญหาให้กับตัวเองจากที่ผิดอีกทาง ไปสู่ที่ผิดอีกทาง เพราะเอาความไม่รู้จริงไปแก้ไขปัญหา เอาความพอใจไม่พอใจของตนเองไปแก้ไข จึงทำให้คนเราแก้ไขทุกข์ที่ตัวเองสร้างขึ้นไม่ได้สักที ทุกข์ที่คนเราสร้างขึ้นจึงทับถมทุกข์ที่ธรรมชาติสร้าง ทำให้คนเรามองไม่เห็น เมื่อมองไม่เห็นก็แก้ไขไม่ได้ ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ที่ธรรมชาติสร้างตามมาเป็นวัฏจักร คนเราจึงเวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วน หาที่สิ้นสุดไม่ได้​ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ถ้าดับทุกข์ไม่ได้ก็ไปหาสุขถาวรไม่ได้ ถ้าคนเราตามสิ่งที่มากระทบสัมผัสไม่ทัน ก็จะสร้างทุกข์ให้กับตนเองไปตลอดชีวิต เป็นทุกข์ที่คนเราสร้างขึ้นเอง ไปทับถมทุกข์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น แล้วเอาทุกข์ที่ตัวเองสร้างขึ้นไปทำซ้ำจนกลายเป็นความเคยชินหรือสันดานหรือพฤติกรรมของการสร้างทุกข์ ในที่สุดพฤติกรรมนี้ก็ควบคุมวิถีชีวิตของคนเราทั้งหมด จึงทำให้คนเรามองไม่เห็นช่องทางที่จะหนีทุกขืไปหาสุขได้ เพราะพฤติกรรมของความไม่รู้ได้ปิดบังช่องทางไว้หมด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็รับรู้ตามข้อมูลของความไม่รู้ที่เป็นพฤติกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในชีวิวตของเรา มันจับเราขังอยู่ในกรอบของการเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน นี่คือทุกข์ที่คนเราสร้างขึ้นมาให้กับตัวเอง ทุกข์นี้เป็นทุกข์ที่เราจะต้องแก้ไข รวมกับทุกข์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น เพื่อจะเดินไปหาสุขที่เราต้องการ
สุขที่คนเราจจะไปถึงก็มี 2 อย่างเช่นกัน คือ
1. สุขชั่วคราว
2. สุขถาวร
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้ชัดเจน

Image description

สุขอันที่หนึ่ง สุขชั่วคราว คือสุขที่หาอะไรมาสนองความอยากความปรารถนาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของคนเรา ได้มาก็สุขไม่ได้มาก็ทุกข์ เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา ความสุข ความทุกข์ ก็เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลาย ไม่มีอะไรมั่นคงถาวร ความสุขชั่วคราวเป็นความสุขทางโลก ต้องหาเหตุปัจจัยมาปรนเปรอตลอดเวลา ถ้าหมดเหตุปัจจัยก็เกิดความทุกข์ ฉะนั้นคนเราจึงลุ่มหลงแสวงหาสุขชั่วคราวไปตลอดชีวิตไม่มีที่สิ้นสุด คนเราส่วนมากก็ได้พาตัวเองมาถึงจุดนี้เป็นส่วนมาก ไม่สามารถนำพาตัวเองออกไปจากสุขชั่วคราวนี้ได้ เราจะเห็นว่าสุขชั่วคราวนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่หามาปรนเปรอตัวเอง หามาได้ก็สุข หาไม่ได้ก็ทุกข์ เรียกว่าสุขที่ขึ้นกับปัจจัยภายนอก

Image description
สุขอันที่สอง สุขที่ไม่ขึ้นกับปัจจัยภายนอก เรียกว่าสุขถาวร คือสุขที่คนเราฝึกฝนตนเองเข้าถึงความจริงของโลกและชีวิตที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ไม่ต้องหาปัจจัยภายนอกมาปรนเปรอก็สุขได้ ชีวิตเป็นอิสระ อยู่ที่ไหนก็สุขได้ สุขอย่างนี้คนเราไม่รู้จักเพราะสุขชั่วคราวทับถมจนมองไม่เห็นและรู้สึกไม่ได้ บางครั้งเมื่อจิตคนเราว่างก็จะพบความสุขถาวรชั่วขณะหนึ่งแต่คนเราไม่รู้ว่าสุขถาวรเกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ทำให้ต่อเนื่องสุขถาวรก็ดับหายไป ตรงกันข้ามถ้าเป็นความพอใจไม่พอใจเกิดขึ้นกับคนเรา พวกเราจะตามดูมันไปตลอดต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดความพอใจไม่พอใจขึ้นมาอีก ในที่สุดก็จะเป็นความเคยชินตามหาสุขชั่วคราวไปตลอด เพราะความสุขชั่วคราวก็เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หาที่สิ้นสุดไม่ได้ คนเราจึงไปหลงสุขชั่วคราวจึงไม่มีโอกาสเข้าถึงสุขถาวรได้

มนุษย์ทุกคนต้องการหนีทุกข์ไปหาสุข แต่ไม่รู้ไม่เข้าใจถูกต้องว่าอันไหนเป็นทุกข์ อันไหนเป็นสุข จึงสับสน เห็นทุกข์เป็นสุข เห็นสุขเป็นทุกข์ เลยไม่สามารถแยกออกได้ชัดเจนจึงทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไปแสวงหาแต่ทุกข์ ทั้งๆที่ต้องการสุข ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะคนเราเกิดมาจากอวิชชาหรือความไม่รู้ จึงเอาความไม่รู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน อวิชชาไม่เปิดให้คนเราศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชีวิตตนเองจึงไม่เข้าใจระบบของชีวิตทั้งหมด ระบบชีวิตเป็นระบบเหตุปัจจัยมาประชุมกัน เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่แล้วดับไป ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง คนเราก็ไปหลงสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นตัวตนสัตว์บุคคล ไปยึดมั่นถือมั่น เมื่อสิ่งนั้นๆแตกสลายไปตามธรรมดาของมัน ทำให้คนเราทุกข์ระทมขึ้น ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับชีวิตของคนเราทุกวัน แต่คนเราไม่เข้าใจว่าสิ่งทั้งปวงมันไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดนิ่ง มองไม่เห็นความจริงที่แท้จริง ความจริงของโลกและชีวิตที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั่นแหละความสุขถาวรที่มนุษย์ทุกคนต้องการไปถึงในชีวิตนี้
เมื่อเรารู้แล้วว่าทุกข์และสุขเป็นอย่างไร แล้วเราจะหนีทุกข์ได้อย่างไรในโลกนี้ไม่มีผู้รู้หรือนักปราชญ์นักวิชาการคนใดที่จะนำพาหรือบอกทางให้เราหนีทุกข์ได้ เพราะทุกข์ของคนเรามีทั้งทุกข์ธรรมดาและทุกข์อริยสัจจะ มีแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่พระองค์ตรัสรู้เรื่องทุกข์และการดับทุกข์ที่จะบอกทางให้คนเราได้

Image description
พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่าทุกข์ของคนเราเกิดที่ไหน ให้ดับที่นั่น ทุกข์ของคนเกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ดับมันตรงที่มันเกิดคือที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่มันทุกข์เพราะอะไร เพราะคนเราตามไม่ทันสิ่งที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วไปหลงพอใจ (แปลว่าโลภ) ไม่พอใจ (แปลงว่าโกรธ) ตามสิ่งที่มากระทบสัมผัสไม่ทันเรียกว่าหลงหรือโมหะ โลภ​ โกรธจึงเป็นทุกข์ในอริยสัจ 4 หลงหรือโมหะเป็นสมุทัยของอริยสัจ 4 ถ้าตามทันสิ่งที่มากระทบสัมผัสที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่านิโรธ ตามทันเป็นประจำเรียกมรรคในอริยสัจ 4 โลภ โกรธ หลง คือทุกข์ นิโรธ มรรค คือการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้สรุปพระธรรมคำสอนของพระองค์ลงในทุกข์กับการดับทุกข์
ชีวิตของคนเรามีค่าเพราะเกิดมายากเหลือเกิน เป้าหมายของชีวิตคนเราทุกคนต้องการหนีทุกข์ไปหาสุขหรือนิพพาน นิพพานแปลว่าไม่ตาย มนุษย์ทุกคนถึงกลัวตาย แต่ไม่รู้ความหมายว่าทำไมคนเราจึงกลัวตาย ที่กลัวตายเพราะคนเรายังทำนิพพานไม่สำเร็จหรือพาตัวเองหนีทุกข์ไปหาสุขถาวรไม่สำเร็จ
เมื่อเรารู้จักทุกข์ดีแล้ว ก็ต้องรู้การดับทุกข์และวิธีดับทุกข์ว่าจะทำอย่างไร ต้องหาบุคคลตัวอย่างว่าในโลกนี้ผู้ใดดับทุกข์ได้ถวรเป็นคนแรกของโลก พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ดับทุกข์ได้เป็นคนแรก พระองค์ท่านดับอย่างไร? ดับด้วยการตามทันสิ่งที่มากระทบสัมผัสอินทรีย์ 6 เพราะทุกข์เกิดที่อินทรีย์ 6 ก็ดับที่อินทรีย์ 6 ดับโดยเอาความจริงของโลกและชีวิตที่พระองค์ตรัสรู้คือเอากฎธรรมชาติ 2 กฎคือกฎไตรลักษณ์และกฎเหตุปัจจัยสรุปว่าไม่เที่ยงเกิดดับ เอาไม่เที่ยงเกิดดับไปตามทันสิ่งที่มากระทบสัมผัสที่อินทรีย์ 6 คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่าทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลาย ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง สิ่งที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ดับการปรุงแต่ง เพราะไม่มีความพอใจไม่พอใจหรืออวิชชาเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยในการปรุงแต่ง นั่นคือเอาหลักสายกลางหรือกฎธรรมชาติ 2 กฎหรือไม่เที่ยงเกิดดับมาเป็นเครื่องมือในการดับอวิชชาหรือทุกข์ เมื่อเอาไม่เที่ยงเกิดดับหรือหลักสายกลางหรือสัมมา มาตั้งที่อินทรีย์ 6 อริยมรรคมีองค์ 8 เกิดขึ้นที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจทันที

Image description
วิธีปฏิบัติ เอาหลักสายกลางมาตั้งในวิถีชีวิต การดำเนินชีวิตก็จะคิดถูก พูดถูก ทำถูก แล้วจะเอาหลักกสายกลางหรือกฎธรรมชาติ 2 กฎ หรือไม่เที่ยงเกิดดับ หรือสัมมา มาตั้งไว้ตรงไหน ทุกข์มันเกิดที่ไหนก็เอาหลักสายกลางหรือไม่เที่ยงเกิดดับมาตั้งไว้ตรงนั้น วิถีชีวิตของคนเราเริ่มต้นตรงไหน เมื่อใด วิถีชีวิตเริ่มต้นที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เอาหลักสายกลางหรือไม่เที่ยงเกิดดับมาตั้งไว้ตรงนั้น แล้วจะตั้งเมื่อใด ตั้งเมื่อคนเราตื่นนอกขึ้นมา เพราะชีวิตเริ่มต้นตั้งแต่คนเราตื่นขึ้นมา นามธรรม รูปธรรม หรือร่างกายของคนเราจะทำงานร่วมกันกับจิตใจ โดยการคิด การพูด การกระทำ ผลการกระทำก็จะเกิดขึ้น ใจก็จะเก็บเป็นสัญญาความจำเอาไว้ใช้ต้อนรับการกระทบสัมผัสครั้งต่อไป ถ้าข้อมูลเอามาวางไว้ในอินทรีย์ 6 ผิด ก็ทำให้คิดผิด พูดผิด ทำผิด ผลผิดก็เกิดขึ้นทำให้เกิดทุกข์ แต่ถ้าข้อมูลถูก ก็จะทำให้คิดถูก พูดถูก ทำถูก ผลถูกก็เกิดขึ้น ทำให้เกิดสุข
วิธีทำ ตื่นขึ้นมาเอาไม่เที่ยงเกิดดับมาตั้งไว้ที่ขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 เรียกว่าวิปัสสนาภาวนา หรือท่องจำคำตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าผ่านอินทรีย์ 6 เข้าไปเก็บไว้เป็นสัญญาความจำไว้ในใจ แทนข้อมูลอวิชชาหรือความพอใจไม่พอใจหรือความไม่รู้ที่คนเราบำเพ็ญมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่ต้องตกใจข้อมูลอวิชชาก็เป็นธรรมชาติต้องการอาหารเป็นเหตุปัจจัยตลอดเวลา ถ้าไม่มีอาหารกินข้อมูลอวิชชาก็ตายไปจากตัวเราได้ ระหว่างที่อวิชชาตายไปตามธรรมชาติ เราต้องรีบใส่ปัญญาของพระพุทธเจ้าคือกฎธรรมชาติ 2 กฎ หรือไม่เที่ยงเกิดดับเข้าไปแทนที่ทันที ใจของเราก็จะเก็บไม่เที่ยงเกิดดับไว้ในใจ แต่ข้อมูลที่เป็นอวิชชาที่มันตายไปจากใจของเราเพราะไม่มีอาหารกิน (อาหารของมันคือความพอใจไม่พอใจใหม่) นั้นมันยังคงค้างพฤติกรรมของอวิชชาไว้เพื่อสร้างอวิชชาใหม่ขึ้นมาแทนของเดิม ถ้าคนเราไม่เข้าใจว่าตัวของคนเรานั้นพฤติกรรมความเคยชินของความไม่รู้เป็นผู้ควบคุมตัวคนเราอยู่ ชีวิตของคนเรายังดำเนินไปตามพฤติกรรมของความไม่รู้อยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมนั้นมันถ่ายทอดมาจากความตคิด มโนกรรม คำพูด วจีกรรม การกระทำทางกายหรือกายกรรม เพราะมโนกรรม วจีกรรม กายกรรมมีความชำนนาญมานับภพนับชาติไม่ถ้วนในการใช้อวิชชาหรือความไม่รู้ ความไม่รู้มันตามทันตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจตลอดเวลา ทำให้ความพอใจไม่พอใจไปปรุงแต่งสิ่งที่มากระทบสัมผัส แล้วเอาผลการกระทบสัมผัสหรือกรรมไปเก็บไว้ในใจ ต่อมาก็ถ่ายทอดออกไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่านมโนกรรม วจีกรรม กายกรรมไปตลอดชีวิต คนเราก็สั่งสมความเห็นผิดให้กับตนเองตลอดเวลา จนคนเราไม่รู้อะไร แต่รู้เฉพาะความเห็นผิดเท่านั้น อย่างอื่นไม่สามารถจะรู้ได้
ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องเปลี่ยนข้อมูลสัญญาความจำใหม่ เป็นสัญญาความจำที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือกฎธรรมชาติ 2 กฎ ลงไปแทนสัญญาความจำเก่า โดยการวิปัสสนาภาวนาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ดังนี้

Image description
ให้ท่องจำอย่างนี้จนเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ให้เกิดเป็นความเคยชินหรือพฤติกรรมของการวิปัสสนาภาววนาหรือท่องจำอย่งนี้ตลอดเวลา เพื่อสร้างเป็นนิสัยในการเจริญปัญญาดับอวิชชา เมื่ออวิชชาไม่มีอาหารใหม่เข้าไปเพิ่มเติม มันก็จะแตกสลายไปแล้วก็เอาไม่เที่ยงเกิดดับไปกำหนดรู้โลกที่เราไปเกี่ยวข้องให้เห็นความจริงของโลกและชีวิตตามความเป็นจริงที่มันเป็น พระพุทธเจ้าบอกว่าสามารถฝึกฝนตนเองเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ภายใน 7 วัน 7 เดือน 7 ปี เรียกว่าทางสายเอกสายเดียวที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้ ทางสายนี้จะต้องใช้ความเพียรพยายามตลอดเวลา เพราะอวิชชาที่ต้องละนั้นมันมีกำลังมากและมันมีความเคยชินหรือพฤติกรรมควบคุมวิถีชีวิตของคนเราอยู่ จะต้องไม่เปิดโอกาสให้อวิชชาทำหน้าที่ควบคุมตัวเราได้ จำเป็นจะต้องมีไม่เที่ยงเกิดดับปิดทางปรุงแต่งของมันให้ได้ จะปิดได้ก็ต่อเมื่อไม่เที่ยงเกิดดับถูกฝึกเป็นพฤติกรรมให้ได้ ความคิดสู้พฤติกรรมไม่ได้ ต้องใช้พฤติกรรมทางปัญญาเอาชนะพฤติกรรมอวิชชา (พฤติกรรม คือความเคยชินที่เกิดจากการทำซ้ำ)
ถ้าหากคนเราก้มดูตัวเอง ถ้าเห็นความจริง จะเห็นว่าคนเราเอาความไม่รู้ไปทำซ้ำในการดำเนินชีวิต ทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เพราะความไม่รู้เป็นผัสสาหารเป็นมโนสัญเจตนาหารและเป็นวิญญาณาหาร เลี้ยงร่างกายตลอดเวลาตั้งแต่คนเราเกิดมา มองดูดีๆจะเห็นชัดว่าเมื่อคนเราคิด ความคิดก็เป็นพฤติกรรมของความไม่รู้ เวลาพูดก็พูดด้วยความไม่รู้ การกระทำก็ทำด้วยความไม่รู้ คือความพอใจไม่พอใจ เวลาจะเดิน จะนั่ง จะนอน ฯลฯ ไปไหนมาไหน ก็ทำด้วยความไม่รู้หรือทำตามความพอใจไม่พอใจ จะพูดอะไรก็พูดตามความพอใจไม่พอใจ จะคิดอะไรก็คิดตามความพอใจไม่พอใจ เราจะเห็นว่าวิถีชีวิตของคนเราไม่มีวิถีชีวิตของปัญญาเกิดขึ้นเลย เป็นลักษณะของหุ่นยนต์ของความไม่รู้ ฉะนั้นการดำเนินชีวิตของคนเราทุกวันนี้เป็นการดำเนินชีวิตโดยการเอาความพอใจไม่พอใจไปทำซ้ำ คนเราคิดไม่ได้มองเห็นไม่ได้รู้ไม่ได้ ว่าตัวเองเอาทุกข์ไปทำซ้ำทุกวัน แล้วเราจะไปหาสุขได้อย่างไร เพราะทุกข์ไม่เปิดโอกาสให้เราไปหาและไม่เปิดโอกาสให้เราคิดได้ ถูกพฤติกรรมสั่งให้ทำโดยไม่ต้องคิดหรือคิดตามพฤติกรรมสร้างทุกข์ตามธรรมดาของคนเราคือในชีวิตประจำวันต้องคิด ต้องพูด ต้องทำตลอดเวลา แต่พวกเราไม่เคยรู้เลยว่า ความคิด คำพูด การกระทำของคนเรานั้น ต้องมีผู้ควบคุมสั่งการให้คิด ให้พูด ให้ทำ ผู้ควบคุมก็คือข้อมูลสัญญาความจำที่เราเก็บไว้ในใจ เป็นผู้สั่งการทั้งหมด ที่อยู่เบื้องหลังของการคิด การพูด การกระทำ ถ้าคนเราไม่เข้าใจตนเองถึงระดับนี้ก็จะไม่รู้ไม่เห็นเรื่องราวของชีวิตตนเองที่ถูกต้อง

Image description

ถ้าเราจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราจากการสร้างทุกข์ไปเป็นการสร้างสุขนั้นจะต้องเปลี่ยนตัวผู้ควบคุมสั่งการในชีวิตของเรา เรารู้แล้วว่าตอนนี้ผู้ควบคุมสั่งการก็คือความไม่รู้หรืออวิชชาหรือความพอใจไม่พอใจสั่งการให้เราสร้างทุกข์ให้กับตัวเราเอง การสั่งการของมันละเอียดลึกซึ้งมาก จนคนธรรมดามองไม่เห็น ต้องอาศัยความรู้ของพระพุทธเจ้า เพราะความไม่รู้มันเป็นตัวตนของคนเราทั้งหมด ทำให้คนธรรมดามองไม่เห็น มองส่วนไหนก็เห็นแต่ความไม่รู้ ไม่สามารถมองเห็นความจริงได้ พิสูจน์ได้จากการมองดูตัวของเราเอง มองดูทุกส่วนจะไม่เห็นความจริงจะเห็นแต่ความพอใจไม่พอใจเท่านั้น ความพอใจมีทั้งหยาบ ละเอียด ถ้าเป็นส่วนละเอียดให้ผลเราจะไม่รู้ ไม่เห็นอะไรเลยที่เป็นความจริงจริงๆ นอกจากมองไม่เห็นตัวเราแล้ว โลกภายนอกที่เราไปเกี่ยวข้องก็ไม่เห็นความจริงเช่นกัน จะเห็นได้ว่าความมืดบอดของความพอใจไม่พอใจปิดบังตัวเราสนิทเลย
ฉะนั้นการแก้ไขตนเองจากทางผิดไปสุ่ทางถูกต้องหรือการหนีทุกข์ไปหาสุขนั้นไม่ใช่ของง่าย ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมาก เวลาที่เหลือของชีวิตของเราเหลืออยู่ไม่มาก จะต้องใช้เวลาทุกนาทีฝึกฝนตนเองตามทางที่พระพุทธเจ้าบอกไว้ คือการวิปัสสนาภาวนา พวกเราต้องรู้ด้วยว่า การฝึกฝนตนเองนั้น มีได้เฉพาะการเกิดมาเป็นคนเท่านั้น ภพภูมิอื่นไม่สามารถฝึกฝนตนเองได้ ตอนนี้ท่านเกิดมากเป็นคนแล้ว ถ้าท่านไม่เฝึกฝนไปหาสุขถาวรแล้วท่านก็จะถูกพฤติกรรมความพอใจไม่พอใจฝึกฝนตนเองไปหาทุกข์หาที่สิ้นสุดไม่ได้
คนส่วนมากไม่รู้ว่าตนเองเกิดมาเพื่อหนีทุกข์ไปหาสุข ทุกข์คือความเกิดสุขที่เราจะไปหาคือความไม่เกิดอีก คนส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าใจว่าความเกิดนั้นเป็นทุกข์ สุขถาวรที่เราจะไปหาคือดับความเกิดได้ถาวร ความเกิดเป็นธรรมชาติย่อมมีเหตุปัจจัยให้มีการเกิด ฉะนั้นจะดับความเกิดได้ก็โดยการดับเหตุปัจจัยของการเกิดเหตุปัจจัยของการเกิดก็คืออวิชชาหรือความไม่รู้หรือความพอใจไม่พอใจ
การหนีทุกข์ไปหาสุขถาวรนั้นจะต้องเรียนรู้เรื่องทุกข์ให้แจ่มแจ้ง เพราะทุกข์มีทั้งภายนอก ภายใน หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ทุกข์คือตัวคนเราทั้งหมดทุกส่วนของร่างกาย ทั้งภายใน ภายนอก เป็นตัวทุกข์ เพราะแต่ละส่วนเกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวและเหตุปัจจัยแต่ละอันที่มาประชุมกันกำลังแตกสลายตามธรรมชาติของมัน อวัยวะทุกส่วนทั้งภายในภายนอก ความพอใจไม่พอใจตั้งชื่อไว้หมด ตั้งชื่อไว้เพื่อง่ายในการจดจำ นานๆไปด้วยความไม่รู้ของคนเรา อวิชชาก็หลอกล่อให้เราหลงไปยึดมั่นถือมั่นเป็นเจ้าของ เป็นตัวกู ของกู ในที่สุด ชื่อของอวัยวะภายในภายนอกของเรา ก็เป็นเครื่องหมายให้คนเราเอาความพอใจไม่พอใจไปใส่ลงไป ในที่สุดอวัยวะเหล่านั้นก็เป็นอุปกรณ์ให้คนเราสร้างทุกข์ให้กับตัวเองตลอดเวลา ถ้าผู้ใดไม่เชื่อก็ก้มดูตัวเองช้าๆก็จะมองเห็นสิ่งเหล่านี้ว่าสร้างทุกข์ให้กับตัวเราเอง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการตั้ชื่อไว้ให้จดจำ เพื่อง่ายในการเรียกชื่อเท่านั้น ด้วยความไม่รู้ของเราตามไม่ทันสิ่งที่มากระทบตัวเราทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมา
เมื่อตัวของเราเป็นตัวทุกข์ทั้งหมด คนเราจะหนีมันได้อย่างไร ไม่ใช่ของง่าย ถ้าไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าบอกทางไว้ให้โดยการตรัสรู้บอกไว้ว่าร่างกายของเราคือตัวทุกข์ มีอะไรอยู่ในตัวของเราเป็นทุกข์ทั้งหมด มีตาก็ทุกข์เพราะตา มีหูก็ทุกข์เพราะหู มีฟันก็ทุกข์เพราะฟัน มีมือ มีแขน มีขา ฯลฯ ก็ทุกข์กับสิ่งที่เรามีด้วยความไม่รู้ของตัวเราเอง ไปแสวงหาสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้มาเป็นของตนเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นตัวทุกข์ เราไม่รู้ ยกตัวอย่างง่ายๆตัวเราเป็นตัวทุกข์อยู่แล้ว เรายังไปหาคนอื่นมาเป็นผัวเป็นเมียอีก มาเพิ่มทุกข์ให้กับตัวเราอีก คิดว่าจะมีความสุขเพิ่มขึ้น ใช่ เป็นเพียงสุขชั่วคราว หลังจากนั้นก็กลับไปเป็นทุกข์ถาวรยากที่จะพาตัวเองหลุดพ้นจากทุกข์เหล่านี้ ถ้ามีลูกมีหลานเกิดขึ้นมาอีก ภาระผูกพันจะมันคนเราแน่นหนาแต่ละวันไม่ได้มองดูตัวเองคอยแต่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น น่ากลัวมากๆ ถ้าดูดีๆด้วยปัญญา ทุกข์ที่คนเราสร้างขึ้นนี่แหละ ผูกมัดให้คนเราตกอยู่ในหลุมพรางของพญามาร ต้องเวียนว่ายตายเกิด มีทุกข์หาที่สิ้นสุดไม่ได้น่าเสียใจที่เกิดมาเป็นคนในชาตินี้ไม่ได้อะไรเลยนอกจากอวิชชาหรือความพอใจไม่พอใจหรือตัวทุกข์เท่านั้นที่ติดตามไป อ่านมาถึงตรงนี้แล้วลองเอาไปพิจารณาตัวเองดูว่า ตัวเราเป็นคนเต็มคน ที่ฝึกฝนตนเองในทางที่ถูกต้องได้ หรือว่าเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่ฝึกฝนพัฒนาตัวเองไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก ถ้าไม่ฝึกเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน
คนเราเกิดมาเป็นคน เราเป็นสมบัติอันหนึ่งของโลก เราต้องอยู่ในโลกนี้อาศัยโลกนี้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ถ้าเราต้องการหนีทุกข์ไปหาสุข คนเราต้องเรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เพราะโลก ธรรม เกื้อกูลกันและกัน และทำลายล้างซึ่งกันและกัน เคียงคู่อยู่ด้วยกันตลอดเวลาเหมือนว่าโลกเป็นเปลือกธรรมเป็นแก่น เปลือกกับแก่นอาศัยซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนไว้ทั้งทางโลกและทางธรรม ให้เห็นว่ามันอิงอาศัยกันอย่างไรและขัดแย้งทำลายล้างกันอย่างไร อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ทำลายล้างกันเมื่อตั้งอยู่ชั่วคราวแล้วแตกสลาย ชีวิตของคนเราต้องอยู่กับโลกอาศัยโลก ใช้ประโยชน์จากโลกเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด
พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องปัจจัย 4 และการหาปัจจัย 4 เพราะคนเราอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเพื่อให้ชีวิตอยู่ได้ ในรูปแบบของปัจจัย 4 คนเราขาดปัจจัย 4 ไม่ได้ เราจะเห็นว่าคนเราแต่ละวันไปแสวงหาปัจจัย 4 อยู่ตลอดเวลา ปัจจัย 4 เป็นผล เหตุของการได้มาของปัจจัย 4 คือการค้าขาย หาเงินมาจจัดหาปัจจัย 4 ปัจจัย 4 อยู่ภายนอกตัวของเรา เราจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเอามา เงินเป็นตัวสำหรับแลกเปลี่ยนปัจจัย 4 พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องหาเงิน เรียกว่าประโยชน์ปัจจุบัน เพื่อเอาไปแลกเปลี่ยนเอาปัจจัย 4 โดยวางหลักกไว้ดังนี้คือ อุฏฐานสัมปา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา หรือขยันหมั่นเพียรหาเงิน หาเงินได้แล้วเก็บหรือใช้เป็น มีเพื่อนที่ดี ประกอบอาชีพถูกต้อง สูตรนี้ครูบาอาจารย์สมัยก่อนได้ให้ชื่อว่า "หัวใจเศรษฐี"
เราจะเห็นได้ว่าการที่จะเข้าใจเรื่องการดำเนินชีวิตนั้น จะต้องมีปัญญาของพระพุทธเจ้าก่อน จึงจะเข้าใจธรรมชาติของชีวิต เพราะชีวิตเป็นธรรมชาติ มีเหตุปัจจัยหลายอย่างมาประชุมกัน ตั้งแต่เกิด การตั้งอยู่ การแตกสลาย ล้วนแต่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมด ถ้าคนเราได้ศึกษาเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสองส่วนคือในส่วนของทางโลกที่เราไปเกี่ยวข้องและทางธรรมที่เราจะต้องปลดปล่อยจากความเห็นผิดทั้งหมด ถ้าเราไม่มีปัญญาของพระพุทธเจ้าเป็นวัคซีนป้องกันตัวของเราก็ไปติดหล่มผลประโยชน์ในทางโลกจนไม่มีโอกาสพาตัวเองไปทางธรรมได้ เพราะโลกมันเชื่อมต่อกับความพอใจไม่พอใจได้สนิทมาก ถ้าไม่มีกำลังทางปัญญาเอาตัวรอดไม่ได้ เราจะเห็นว่าทกวันนี้คนในโลกประสบความสำเร็จทางโลกมากมาย แต่ก็ไปติดหล่มในสมบัติเงินทองของตัวเอง ไม่สามารถและมีโอกาสพาตัวเองไปหาทางธรรม ที่พาตัวเองหลุดพ้นจากการยึดติดในสิ่งไม่มีตัวตนสาระใดๆทั้งสิ้น เกิดมาชาตินี้เขาก็ไปไม่ถึงเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ พาตัวเองมากได้แค่นี้ ภพแล้วภพเล่าจนนับไม่ได้ พวกเศรษฐีทั้งหลายมาติดกับตัวเอง ที่ตัวเองสร้างขึ้น กักขังตัวเขาเอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าเงินคืออสรพิษ ถ้าควบคุมมันไม่ได้ มันฆ่าตัวเราอย่างนี้
นี่คือหตุผลที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า จะทำอะไรต้องมีความรู้จริงรู้แจ้งในสิ่งที่เราไปเกี่ยวข้อง เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายที่คนเราไปเกี่ยวข้องมี 2 ลักษณะ คือมีคุณและมีโทษเคียงคู่กันอยู่เหมือนหน้ากับหลังของคนเรา ทุกวันนี้คนเราไม่มีความรู้จริงรู้แจ้งในเรื่องตัวเองและโลกภายนอกที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องว่ามันเป็นธรรมชาติ จึงกำหนดทิศทางของการดำเนินชีวิตไม่ถูกต้องและไม่รู้ว่ามันมีเหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบอะไรบ้างที่มาเกี่ยวข้อง ถ้าไม่รู้อย่างนี้ชีวิตของเราก็ไปไหนไม่ได้จึงตกอยู่ในวังวนของวัฏสงสาร เวียนว่ายตายเกิดหาที่สิ้นสุดไม่ได้ หาทางออกให้กับชีวิตไม่ได้
การหาทางออกให้กับชีวิตของเราเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก ชีวิตคนเราจะมีค่าไม่มีค่าก็ดูตรงนี้ คือการหาทางออกให้กับชีวิตได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกกับทางธรรมมันติดกันมันเป็นอันเดียวกันมีลักษณะเหมือนกันเพราะมันเป็นธรรมชาติเหมือนกันเราจะแกะมันออกจากกันอย่างไร พระพุทธเจ้ายกตัวอย่างไว้ว่า ตากับรูปอะไรเกี่ยวกัน ตาไปเกี่ยวกับรูปไว้ หรือ รูปไปเกี่ยวกับเอาตาไว้หรือ คำตอบคือ ตากับรูปไม่ได้ไปเกี่ยวกันและกันไว้ แต่เป็นความพอใจไม่พอใจต่างหากที่เกี่ยวมันไว้ เหมือนวัวกับเชือกที่มัดติดหลัก วัวกับหลักไม่ได้เกี่ยวกัน แต่เชือกต่างหากที่เกี่ยววัวไว้ ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน โลก ธรรม ไม่ได้เกี่ยวกันไว้ แต่ความพอใจไม่พอใจหรือความไม่รู้ของคนไปเกี่ยวมันไว้ ถ้าจะปลดโลกกับธรรมออกจากกัน ก็ต้องปลดความพอใจไม่พอใจออกไป ทั้ง 2 ส่วนก็เป็นอิสระ
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเน้นให้พวกเราชาวพุทธให้มีปัญญา ให้รู้จริงรู้แจ้งเรื่องโลกและชีวิต เพื่อปลดปล่อยความพอใจไม่พอใจหรืออวิชชาออกจากตัวของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะถูกปลดปล่อยมีอิสระทันที โลกและชีวิตมีองค์ประกอบที่สลับซับซ้อนมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ควรคิดเรื่องโลกและเรื่องกรรมเพราะมีเหตุปัจจัยสลับซับซ้อนมาก ถ้าผู้ใดคิดมีโอกาสเป็นบ้าได้ การศึกษาเรียนรู้เรื่องโลกและชีวิตเหมือนกับตัวเราว่ายน้ำอยู่กลางทะเล ไม่รู้ฝั่งอยู่ตรงไหน ไม่รู้ว่าจะไปอย่างไร ถ้ามีปัญญาของพระพุทธเจ้าไว้ก่อนอุปมาเหมือนเรือที่เราเตรียมไว้ไปหาฝั่ง ถ้าไม่มีเรือเรามีโอกาสตายในทะเลได้ ฉันใดฉันนั้น เรื่องโลกและชีวิตมีทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ กรรม วิญญาณ มาประชุมกัน จึงละเอียดลึกซึ้งสลับซับซ้อน เกินกว่าปัญญาของเราจะเข้าไปถึงได้ เพราะเรื่องโลกและกรรมเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด
การแก้ปัญหาของชีวิตจะหนีทุกข์ไปหาสุขนั้น มันเกี่ยวข้องทั้งทางโลกและทางธรรมพร้อมชีวิตของคนเราด้วย ถ้าไม่เข้าใจองค์ประกอบทั้งหมดให้ดี เราไม่อาจจะหนีไปจากวิบากกรรมและโลกไปอยู่เหนือโลกได้ โลกและชีวิตเป็นธรรมชาติที่สลับซับซ้อนมากโดยเฉพาะชีวิตมีทั้งรูปธรรมนามธรรมอยู่ในตัว โดยเฉพาะนามธรรมละเอียดลึกซึ้งมาก รู้เห็นได้ยาก มีการกระทำและมีผลการกระทำเกิดขึ้นตามมาทั้งนามธรรมและรูปธรรม โลกนี้จึงหลากหลายด้วยผลของนามธรรมหรือจิตใจ จนคนธรรมดาทั่วไปสับสนไม่รู้อะไรเป็นอะไร ทำให้ไม่รู้และเข้าใจชีวิตตัวเองว่าชีวิตต้องการอะไรและจะไปไหน มีลักษณะบนความมืดบนแสงสว่างทั้งๆที่ลืมตาอยู่ก็มองไม่เห็น อะไรทำให้โลกสับสน สิ่งที่ทำให้โลกสับสนก็คือตัวคนเราแต่ละคนนั่นแหละเพราะต่างคนต่างทำด้วยความไม่รู้เอาความพอใจของแต่ละคนไปสร้างวัตถุสิ่งของให้วิจิตรพิสดาร เพื่อหลอกล่อให้คนอื่นๆมาทำตามเรา เพื่อความสำเร็จที่สร้างทุกข์ให้กับตัวเองและคนอื่นอยู่ตลอดเวลา โลกของเราตามธรรมดามันก็วิจิตรพิสดารหลากหลาย ที่หลอกล่อให้คนไม่รู้หลงมัวเมา นอกจากนั้นตัวมมนุษย์ก็ได้สร้างวัตถุสิ่งของ แสง สี เสียงนานาชนิด ให้วิจิตรพิสดารเพิ่มเติมเข้าไปอีก จนคนเราขณะนี้แยกไม่ออกว่า อันไหนเป็นโลกธรรมชาติหรือโลกมนุษย์สร้างขึ้น ทั้ง 2 โลกนี้ ก็เป็นเหตุปัจจัยให้คนเราหนีไปจากโลกไม่ได้ หนีจากโลกธรรมชาติก็มาเจอโลกที่ตัวเองสร้างขึ้น ถ้าคนเราไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้จะหนีทุกข์ไปหาสุขไม่ได้ในชาตินี้
การหนีทุกข์ไปหาสุขตัวคนเราเป็นคนหนีแล้วก็ทุกข์ที่เราต้องหนีนั้นมันอยู่ในตัวเราคนหนี เราจะหนีไปไหนในทางโลกมันก็ตามเราไปทุกที่ที่เราไป เมื่อมันเป็นอย่างนี้คนเราจะหนีจากมันอย่างไร เราต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ที่หนีทุกข์ได้สำเร็จมาใช้ปฏิบัติในการหนี คนที่หนีทุกข์ได้สำเร็จคนแรกของโลกคือพระพุทธเจ้า เราจะต้องเอาประสบการณ์ของพระพุทธเจ้าเป็นทางช่วยให้เราหนี พระพุทธเจ้าก็ได้บอกทางไว้แล้ว ดังที่เขียนไว้ในบทต้นๆว่าทำอย่างไร ให้ปฏิบัติตามนั้นด้วยความเพียรพยายาม วิธีปฏิบัติของพระพุทธเจ้านี้ไม่ได้ไปกระทบกระเทือนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำเคียงคู่กันไปได้ ผลก็จะออกมาทำให้เราสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมหนีทุกข์ไปสุขถาวรสำเร็จได้ในชาตินี้
คนเราหลายคนไม่เข้าใจว่าคำว่าสุขถาวรกับสุขชั่วคราวชัดเจนเพียงพอ ส่วนมากคิดว่าสุขถาวรนั้นเป็นสุขที่จืดชืด ไม่มีรสชาติ เพราะไม่มีความพอใจปรุงแต่ง สู้สุขชั่วคราวไม่ได้ ที่มีการปรุงแต่งหลายอย่าง อุปมาเหมือนเครื่องดื่มของเรา น้ำเปล่าไม่มีอะไรปรุงแต่ง รสชาติจืดชืด กับเครื่องดื่มที่อะไรปรุงแต่งมากมาย มีสีเขียว สีแดง สีส้ม รวมทั้งเครื่องหมักดองของมึนเมา หลายคนชอบเครื่องดื่มที่มีการปรุงแต่งแบบนี้ แต่ไม่ชอบน้ำเปล่าๆดื่มไปดื่มมาในน้ำปรุงแต่ง จึงรู้สึกได้ว่าสู้น้ำเปล่าๆไม่ได้ มีคุณค่า มีประโยชน์มากกว่า คนเราจึงมาดื่มน้ำเปล่าๆที่ตัวเองไม่ค่อยชอบ ก็เพราะคนเรามีปัญญามากขึ้น เช่นเดียวกัน ถ้าเราตามดูชีวิตคนเราแต่ละวันจะเตลิดเปิดเปิงไปตามสิ่งปรุงแต่ต่างๆนานา หมดแรงไปแล้วก็จะกลับมานอนหลับอยู่ทีบ้าน ซึ่งทีบบ้านไม่มีอะไรปรุงแต่งเหมือนที่อื่นๆที่ไปมา แต่ถ้าคนเราไม่มีปัญญาก็จะรู้ไม่ได้ว่า ที่บ้านของเรานั้นคือสุขถาวร ไม่มีสิ่งปรุงแต่งนั้นสุขกว่าไปที่อื่นที่มีสิ่งปรุงแต่ง เพราะคนเราไม่มีปัญญาเพิ่มเติมจึงไม่เข้าใจเรื่องราวของชีวิตจริง จะเห็นว่าทุกคนต้องการดื่มน้ำเปล่า และต้องการมานอนหลับที่บ้าน สองอย่างนี้คือตัวอย่างของสุขถาวรที่คนเราต้องการไปให้ถึงด้วยปัญญา ที่บ้านก็ไม่มีอะไรปรุงแต่ง และน้ำเปล่าก็ไปมีอะไรปรุงแต่ง นี่คืดลักษณะของสุขถาวรที่คนเราจะต้องทำความเข้าใจให้เห็นจริงๆอย่างนี้ แล้วให้มีความรู้อย่างนี้อยู่ในใจ จึงจะไปถึงสุขถาวรได้
พอจะสรุปความสุขถาวรและความสุขชั่วคราวได้ดังนี้ ความสุขถาวรคือความสุขที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง เป็นคสามสุขล้วนๆ เป็นอิสระ สงบ ร่วมเย็น สบาย เหมือนกับน้ำเปล่าๆที่คนเรากินทุกวัน ไม่มีอะไรปรุงแต่ง คนเราจะต้องกินทุกวัน ไม่กินไม่ได้ ไม่มีผู้ใดเบื่อการกินน้ำเปล่าๆเหมือนกับสุขถาวรเช่นกัน ไม่มีใครเบื่อเพียงแต่เราไม่รู้จักมันดีเท่านั้น จึงไม่ได้ไปแสวงหาเป็นเพียงแต่ธรรมชาติของเหตุปัจจัยบังคับให้คนเราเข้าถึงหรือชอบมัน โดยไม่รู้ไม่เข้าใจว่ามันคือสิ่งที่ชีวิตต้องการ ยกตัวอย่างเช่นน้ำเปล่า ธรรมชาติบังคับให้คนเราต้องกิน ถ้าไม่กินก็ต้องเสียชีวิต อย่างนี้เป็นต้น
สุขชั่วคราวคือสุขที่เกิดจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย เหมือนกับน้ำดื่มที่ปรุงแต่ด้วยรส กลิ่น สี หมักดอง เหล้า เบียร์ ที่คนเราชอบดื่ม จะเห็นว่าถ้าในโต๊ะมีน้ำเปล่า น้ำปรุงแต่ง คนส่วนมากจะเอาน้ำปรุงแต่งไปดื่มก่อนน้ำเปล่าๆ กินไปกินมาก็รู้สึกเบื่อ แล้วกลับมากินน้ำเปล่าๆ ไม่มีผู้ใดเบื่อน้ำเปล่าๆที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ก็พอสรุปได้ว่า อะไรก็ตามที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งนั้นบริสุทธิ์ คนเราทุกคนชอบโดยไม่รู้ตัว หลายคนบอกว่าตนเองติดเหล้า แต่ไม่รู้ว่าตัวเองติดกินน้ำเปล่าๆมากกว่า ฉันใดฉันนั้น คนเราชอบสุขถาวรมากกว่าสุขที่ปรุงแต่ง แต่ไม่รู้ตัว จริงๆแล้วคนเราชอบสุขถาวรที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ไม่เชื่อก็ก้มดูท่านเองแล้วท่านจะเห็นความจริงของตัวท่านในคำสอนของพระพุทธเจ้ามักจะสอนให้หาความจริงจากตัวเอง เอาตัวของเราพิสูจน์ในความสงสัยของคนเราแล้วจะเห็นความจริง ต่อไปไม่ต้องเชื่อผู้ใดอีก อย่างเช่นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านมีความจริงของโลกและชีวิตอยู่เต็มใจของท่านตลอดเวลา
ฉะนั้นเรื่องราวของชีวิตคนเราเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องยากที่จะสอนหรือชี้ให้พวกเรารู้เห็นเข้าใจได้ง่ายๆเพราะแต่ละคนถูกสอนผิด ไม่ครบถ้วน จึงทำให้แต่ละคนหลงตัวเองว่าตนเองรู้จักตนเองดีแล้ว ไม่ต้องมีใครมาสอนมาชีิให้เห็นอีก อันนี้เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของคนเรา คิดว่าตัวเองรู้หมดแล้ว แต่ความจริงรู้เพียงความพอใจไม่พอใจให้เขารู้เท่านั้น ไม่มีความรู้ที่ออกไปจากความพอใจได้ เป็นความรู้ทางโลกที่สร้างทุกข์ให้กับตัวเอง พวกเขายังไปไม่ถึงความรู้ที่ดับทุกข์ได้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นทิฐิมานะของตน แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่สามารถสอนให้คนทุกคนเข้าใจได้ พระพุทธเจ้าจึงเลือกสอนเฉพาะคนที่สอนได้เท่านั้น คนเราถ้าสอนตัวเองได้และเปิดโอกาสให้คนอื่นสอนตัวเองได้ถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง คนเราไม่ได้รู้ทุกอย่างความรู้อีกมากมายที่คนเรายังไม่รู้ โดยเฉพาะความรู้ที่ดับทุกข์ได้จึงจำเป็นต้องอาศัยคนอื่นสอนและแนะนำให้ จึงจะรู้ได้ กัลยาณมิตรจึงเป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่งของชีวิตที่พาคนเราข้ามพ้นจาากความเห็นผิดหรือทุกข์ไปหาสุขถาวรได้ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าคนเราอยู่ถิ่นที่เหมาะ มีกัลยาณมิตร ตั้งตนไว้ชอบ มีบุญที่ทำไว้ปางก่อน บุคคลนั้นจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากผลของการกระทำหรือวิบากกรรม
ที่ให้ผลต่อมนุษย์ทุกคน
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กรรมจำแนกบุคคล กรรมลิขิต ผู้ใดทำกรรมใดต้องได้รับกรรมนั้น
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ หมายความว่าอย่างไร?​ หมายความว่าคนเราเกิดในเผ่าพันธุ์ไหน เผ่าพันธุ์นั้นก็เป็นเป็นเผ่าพันธุ์ของตนเอง เช่น ไปเกิดเป็นคนอินเดีย อินเดียก็เป็นเผ่าพันธุ์ของตนเอง เป็นชาวยุโรป เป็นชาวแอฟริกา เป็นชาวเอเชีย ฯลฯ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ก็เป็นเผ่าพันธุ์ของตนเอง คนเราก็จะไปเกิดตามเผ่าพันธุ์ของตนเอง นอกจากนี้คนเรายังไปเกิดในเผ่าพันธุ์เทวดา พรหม ผีเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ยักษ์ มาร นี่หมายถึงคำว่ากรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กรรมจำแนกบุคคล หมายถึง คนเราจะไปเกิดตามผลการกระทำของตนเองที่ทำมา เช่น คนทำไม่ดีก็จะไปเกิดในที่ไม่ดี คนทำกรรมดีก็ไปเกิดในที่ดี เราจะเห็นว่าคนเราไปเกิดเป็นลูกเศรษฐีก็มี ไปเป็นลูกคนยากจนก็มี เป็นคนไม่สมประกอบพิกลพิการ เป็นคนสวยงาม หล่อเหลาก็มี ลักษณะรูปร่างหน้าตาของคนเราที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ก็เกิดจากการจำแนกของกรรมของแต่ละคนทั้งสิ้น บางคนก็บอกว่าบางคนเกิดมาไม่สวย เขาไปทำศัลยกรรมใหม่ให้สวยขึ้นมาก็ได้้ ใช่ การไปทำศัลยกรรมก็เกิดจากกรรมที่ทำในปัจจุบันในขณะนั้น กรรมจำแนกคนเราหลายอย่าง ถ้าเรามองช้าๆจะมองเห็น จำแนกการกินการอยู่่ การทำมาหากิน การดำเนินชีวิต การคิด การพูด การกระทำ ฉะนั้นการดำเนินชีวิตคือการทำตามการจำแนกของกรรมทั้งหมดของแต่ละคน
การกระทำตามมการจำแนกของคนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มผู้สร้าง กลุ่มนี้มีแนวคิดที่จะสร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่างตลอดเวลา กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้รักษา คนกลุ่มนี้ก็มีแนวคิด การกระทำ การพูดไปแนวทางรักษาทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีขึ้น เช่น รักษาโบราณวัตถุ รักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มผู้ทำลาย คนกลุ่มนี้ก็มีแนวความคิด คำพูด การกระทำ ออกมาในทางทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น คนเหล่านี้มีนิสัยชอบทำลาย ไปที่ไหนไม่ได้ทำลายอะไรไม่ได้ต้องมีการทำลายล้างตลอดเวลา
กรรมลิขิต หมายถึงโปรแกรมที่ผลของการกระทำตั้งไว้ ชีวิตของคนเราต้องตั้งอยู่ในโปรแกรมนั้นตลอดเวลา เราจะฝืนกรรมลิขิตนั้นไม่ได้แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ช่วยให้พ้นจากกรรมลิขิตนั้นไม่ได้ ในพระไตรปิฎกมีหลายสูตรที่พระพุทธเจ้าพยายามช่วยแต่ช่วยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องกรรมลิขิตคือผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ คนในปัจจุบันเรียกกันติดปากว่าพรหมลิขิตที่ถูกต้องคือกรรมลิขิต กรรมลิขิตของคนเรามีทั้งอดีตและปัจจุบันที่ให้ผลกับคนเราเป็นสิ่งที่ละเอียดซับซ้อนมาก รู้ตามทั้งหมดไม่ได้เพราะบางครั้งมีทั้งอดีตใกล้อดีตไกลมาให้ผล เช่น เราจะเห็นว่าตัวของคนเราชาตินี้ไม่ได้ทำผิดอะไรที่จะทำให้ติดคุกติดตารางหรือบาดเจ็บได้แต่ก็ได้รับโทษติดคุกติดตารางได้ อันนั้นหมายถึงผลของกรรมเก่าในอดีตชาติมาให้ผล เพราะคนเราเป็นธรรมชาติ เกิดจากเหตุปัจจัยจะต้องมีการกระทำ คำตอบคือตัวเราในปัจจุบันนี้คือผลของอดีต อดีตต้องมี ปัจจุบันจึงมี ปัจจุบันมี อนาคตจึงมี กรรมมีไหม? กรรมเป็นนามธรรม มีอยู่ติดกับใจของเรา ก็อยู่ในตัวของเราทุกคน เหมือนลำไย เวลาต้นลำไยไม่ออกผล ผลลำไยไปอยู่ไหน? ผลลำไยก็อยู่ในต้นลำไย ถ้ามีเหตุปัจจัยครบก็จะออกมาให้เราเห็น ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน ถ้ามีเหตุปัจจัยครบกรรมของคนเราก็แสดงผลออกมาให้เห็น
ผู้ใดทำกรรมใด ผู้นั้นต้องได้รับกรรมนั้น คนทำดีก็ได้รับผลดี คนทำชั่วก็ได้รับกรรมชั่ว กรรมส่วนนี้ยังละเอียดลึกซึ้ง รู้ตามได้ยาก การให้ผลของกรรมมิใช่ทำทันทีได้ผลทันทีเสมอไป ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย วัน เวลา สถานที่ เป็นองค์ประกอบในการให้ผล เพราะแต่ละวันก็จะมีผลของกรรมที่คนเราทำไว้ เรียงลำดับกันออกมาให้ผล ถ้ากรรมในอดีตมีกำลังแรงกว่ากรรมในปัจจุบันกรรมในอดีจจะให้ผลก่อน กรรมปัจจุบันก็เลื่อนไปให้ผลในระดับต่อไปทำให้คนธรรมดาทั่วไปไม่เชื่อผลของการกระทำจึงมีคำพูดกันที่ได้ยินอยู่ในปัจจุบันว่า ทำดีได้ดี มีที่ไหน ทำชั่วได้ดี มีถมไป นี่แสดงว่าคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อกรรมว่ามีจริง เพราะการให้ผลของกรรมสลับซับซ้อน มีทั้งกรรมที่สนับสนุนกัน กรรมตัดกรรม อย่างนี้เป็นต้น
ตัวของเราเกิดจากผลการกระทำของเราเอง เมื่อมีตัวเราจึงมีผลต่อเนื่องของตัวเราตามมา ซึ่งตรงกับคำสอนขอองพระพุทธเจ้าว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี คนเราเกิดมามีผลต่อเนื่องตามมามากมาย ผลต่อเนื่องที่มันเกิดขึ้นตามมานี่แหละที่มันสร้างกรรมและผลการกระทำให้กับตัวเราไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่คนเราไม่ฝึกตัวเองจนเข้าถึงมรรคผลนิพพาน เข้าถึงนิพพานเมื่อใด สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คนเราโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นคน สามารถฝึกฝนตนเองได้ ทั้งทางบวกและทางลบ ฝึกบวกได้บวก ฝึกลบได้ลบ เราจะเลือกบวกได้ก็ต่อเมื่อเรามีปัญญาธรรมของพระพุทธเจ้าก่อน จึงรู้ได้ว่าอันไหนเป็นบวกอันไหนเป็นลบ ถ้าเราไม่มีข้อมูลที่เป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า เราจะไม่มีวันทราบได้เลยเพราะคนเราทุกคนเกิดมาด้วยอวิชชามีความไม่รู้ฝังอยู่ในใจทุกคน ฉะนั้นคนที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาถือเป็นบุญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนเราเกิดมาเป็นคน เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เกิดมาพบพระธรรมคำสอนที่ถูกต้อง เกิดมาพบคนบอกทางที่ถูกต้องให้ เป็นเรื่องที่หายากในโลก ท่านลองตรวจสอบดูตัวของท่านว่า ท่านเกิดมาพบสี่อย่างนี้แล้วหรือไม่ ถ้าเกิดมาพบก็หมายความว่าท่านโชคดีที่สุดในชีวิตของท่านเพราะท่านมีโอกาสพัฒนาตนเองไปพบสุขถาวรหรือมรรคผลนิพพานได้ในชาตินี้ คนเราจะมาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะได้สั่งสมสติปัญญาธรรมมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันหรือบำเพ็ญบารมีมาเพียงพอหรือกรรมหรือพฤติกรรมมาตั้งแต่อดีตชาติเป็นต้นมา กรรมและวิบากกรรมที่เป็นบุญและกุศลตามมาให้ผลก็เข้ากับหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าบุคคลทำกรรมใด ย่อมได้ผลของกรรมนั้น
ตอนนี้เราพอจะเข้าใจกรรมและผลของการกระทำพอสมควร เพราะมันเกิดกับตัวเราเองทั้งหมดตลอดเวลาแต่ถ้าเราไม่ศึกษาเรียนรู้ก็รู้ไม่ได้เช่นกัน เพราะการกระทำหรือการดำเนินชีวิตของเราทำตามกรรมและวิบากตลอดเวลา นับภพนับชาติไม่ถ้วนจนกลายเป็นความเคยชินหรือความชำนาญของชีวิตคือทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยความไม่รู้ ถ้าเราหยุดความไม่รู้ของเราไม่ได้ คนเราก็จะไม่รู้อะไรไปตลอดกาล มีชีวิตอยู่บนความมืดมิด บนแสงสว่าง ความมืดมิดอันนี้ ไม่มีแสงสว่างของพระอาทิตย์ พระจันทร์ หรือแสงไฟฟ้าทุกชนิด ไม่สามารถทะลุเข้าไปได้ นอกจากแสงสว่างของปัญญาของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เช่น โลภะ โทสะ โมหะ ของคนเรา แสงไฟแสงอาทิตย์ไม่สามารถจะส่องเห็นได้ มีแต่แสงสว่างของปัญญาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงส่องมองเห็นได้
ความมืดมิดของความไม่รู้ปิดบังอำพรางตัวเรา คนเราจึงพัฒนาความรู้ของเราไม่ได้ ความรู้ของคนเรามี 4 รู้ คือ รู้จัก รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง เราจะเห็นว่าตัวของคนเราขณะนี้ไปได้แค่รู้จัก รู้จำเท่านั้น รู้จัก รู้จำเป็นความรู้เกิดจากพฤติกรรมของความไม่รู้ จึงไม่มีโกาสพัฒนาความรู้จากรู้จัก รู้จำ เป็นรู้จริง รู้แจ้งได้ ตลอดเวลา เราจะเห็นว่าตัวของเราตกอยู่ในร่องเดิมคือร่องรู้จักและรู้จำเท่านั้น รู้ต่อไปข้างหน้าไม่ได้เลยคือรู้จริง รู้แจ้ง รู้จริงรู้อย่างไร? พูดง่ายๆรู้จักธรรมชาติ รู้แจ้งรู้อย่างไร? รู้แจ้งคือกฎธรรมชาติ 2 กฎที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้แล้วดับทุกข์ได้ รู้ธรรมชาติยังดับทุกข์ไม่ได้ต้องรู้เหนือธรรมชาติคือรู้กฎธรรมชาติ 2 กฎ จึงจะอยู่เหนือธรรมชาติไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ถ้ารู้จริงแค่รู้ธรรมชาติไม่สามารถจะพาตนเองดับการเวียนว่ายตายเกิดตามธรรมชาติได้
ความไม่รู้ก็คือความพอใจไม่พอใจที่คนเราไปใส่ไว้ในมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม แล้วเอาไปทำซ้ำจนเกิดความชำนาญก็ได้กลายเป็นกรรมและพฤติกรรมของความไม่รู้ครอบงำคนเรามาตลอด สิ่งเหล่านี้เราต้องรู้ต้องเข้าใจมันให้ได้เพราะมันเป็นตัวขับเคลื่อนชีวิตของเรา กรรมแบ่งง่ายๆ ก็มี 2 กรรม คือกรรมขาว (กรรมดี) กับกรรมดำ (กรรมไม่ดี) ซึ่งมีอยู่ในตัวของเราทุกคน เราพอจะเห็นได้ รู้ได้ ถ้าเราตั้งใจดูหรือเรียนรู้ ถ้าไม่ตั้งใจดูคนเราจะไม่มีวันรู้ได้เพราะความไม่รู้ไม่เปิดโอกาสให้เรารู้หรือเรียนรู้ได้ ไม่น่าเชื่อว่ากรรมของความไม่รู้หรือพฤติกรรมของความไม่รู้นั้นมันโหดร้ายต่อคนเราเหลือเกิน มันโหดร้ายน่ากลัวที่สุดคือมันทำให้คนเราคิดไม่ได้ คนเราขณะนี้จะทำอะไรก็ทำตามพฤติกรรมคือความเคยชินก่อน ความคิดตามมาภายหลัง ความคิดนั้นก็เป็นความคิดตั้งอยู่บนความไม่รู้หรือความพอใจไม่พอใจเท่านั้นเป็นไปอย่างอื่นไม่ได้
หลายคนก็มีคำถามว่าคิดอย่างไรที่ไม่ตั้งอยู่บนความพอใจไม่พอใจ ความคิดอย่างนั้นมีด้วยหรือ เข้าไม่รู้เลยว่าความพอใจเป็นความคิดสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ความไม่พอใจก็เป็นความคิดสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง แล้วตรงกลางมันอยู่ตรงไหน มันก็อยู่ตรงกลางของความพอใจไม่พอใจ แล้วตรงนั้นเขาเรียกว่าอะไร พระพุทธเจ้าเรียกว่าความจริงที่แท้จริงคือความจริงของโลกและชีวิต ก็คือกฎธรรมชาติ 2 กฎ คือกฎไตรลักษณ์และกฎของเหตุปัจจัย ความพอใจก็เป็นธรรมชาติ ความไม่พอใจก็เป็นธรรมชาติเช่นกัน ธรรมชาติทุกชนิดลงอยู่ในกฎธรรมชาติ 2 กฎนั้น กฎธรรมชาติ 2 กฎจึงเป็นหลักสายกลาง ไม่เอียงไปทางความพอใจ ไม่พอใจ
พระพุทธเจ้าจึงให้คนเราตั้งอยู่บนหลักสายกลางเอาสายกลางนี้ไปดำรงชีวิตคือเอาไปประกอบกับความคิดแทนความพอใจหรือไม่พอใจหรือความไม่รู้ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน ชีวิตของเราก็อยู่ด้วยปัญญาหรือความรู้ที่ดับทุกข์ได้ ตลอดเวลาคนเราก็พอจะรู้ว่าชีวิตต้องตั้งอยู่บนหลักสายกลางแต่ก็ไม่มีผู้ใดบอกได้ หลักสายกลางนั้นคืออย่างไร ไม่มีผู้ใดอธิบายให้ชัดเจน ที่สามารถเอาไปปฏิบัติแล้วดับทุกข์ได้จริงๆ ทีนี้เรารู้แล้วว่าหลักสาสยกลางคือกฎธรรมชาติ 2 กฎที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สรุปว่าไม่เที่ยงเกิดดับ เอาไปใช้วิปัสสนาภาวนากำกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตอนที่ถูกกระทบสัมผัส อย่างนี้เรียกว่าตามทันสิ่งที่มากระทบสัมผัส ไม่เที่ยงคือธรรมชาติ เกิดดับคือกฎธรรมชาติ 2 กฎ พูดง่ายๆก็คือเอาไม่เที่ยงเกิดดับไปใช้กำกับการดำเนินชีวิตตลอดเวลา คนเราก็จะได้ชีวิตใหม่ ประกาศอิสรภาพให้กับตัวเองได้ เพราะตลอดเวลานับภพนับชาติไม่ถ้วน ความไม่รู้หรือความพอใจไม่พอใจกำกับชีวิตชองคนมาตลอด มันนมนานจนคนเราไม่รู้มองไม่เห็นว่าความพอใจคือโลภะ ไม่พอใจคือโทสะ ตามสิ่งที่มากระทบไม่ทันเรียกว่าโมหะหรือหลง โลภ โกรธ หลง จึงเป็นโปรแกรมของคนเราทุกคนโดยไม่รู้ตัว
จะเห็นว่ามนุษย์ทุกคนไม่ค่อยปกติ พระพุทธเจ้าได้พยายามปรับทิศทางของมนุษย์ โดยให้ถือศีล 5 เพื่อจะได้ให้ตัวคนเราค่อยๆปรับทิศทางของตนเองให้ปกติ ที่ไม่ปกตินั้นนก็เพราะกรรมและพฤติกรรมของความไม่รู้ควบคุมตัวคนเราตลอดเวลา ความพอใจและความไม่พอใจหรือความไม่รู้ควบคุมตัวคนเราตลอดเวลา ความพอใจและความไม่พอใจหรือความไม่รู้ที่พาตัวคนเราออกไปจากวิถีของธรรมชาติที่เป็นจริงจึงทำให้คนเรามีชีวิตที่ไม่เป็นปกติหรือธรรมชาติจริงๆ จึงทำให้คนเราหาความสุขไม่ได้แม้แต่ความสุขชั่วคราว แล้วจะพาตัวเองไปหาสุขถาวรที่ชีวิตต้องการนั้นมันเป็นไปไม่ได้ คนเราต้องตกอยู่ในวัฏจักรของการเวียนว่ายตายเกิดหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า น้ำในทะเล 4 มหาสมุทรนั้น ยังน้อยกว่าน้ำตาของคนเราที่เกิดจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ทั้งหมดทั้งปวงนี้ก็เกิดจากผลของกรรมและพฤติกรรมของความไม่รู้ของตัวเราเอง
ฉะนั้นความรู้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เท่านั้นจึงจะพาคนเราออกจากโลกมายานี้ได้ เพราะวิบากกรรมที่ไม่ดีเท่านั้นทำให้คนเราดำเนินชีวิตผิด ถ้าคนเราฝึกฝนสร้างวิบากกรรมที่ดีขึ้นมาทดแทน คนเราก็ออกจากโลกมายานี้ได้อย่างเดียวกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทำอย่างไร จึงพาตัวท่านออกไปจากโลกมายานี้ได้ ทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้คือ วิปัสสนาภาวนาสติปัฏฐาน 4 หรือท่องจำไม่เที่ยงเกิดดับหรือกฎธรรมชาติ 2 กฎที่พระองค์ตรัสรู้ กำกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเก็บเอาไม่เที่ยงเกิดดับไว้เป็นสัญญาความจำ แล้วเอาไม่เที่ยงเกิดดับไปกำหนดรู้สติปัฏฐาน 4 คือกำหนดรู้กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นกาย เวทนา จิต ธรรมตามความเป็นจริงว่ามันเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลาย ไม่เที่ยงเกิดดับ ไม่มีตัวตนเป็นของตนเองว่าเปล่าจากตนและของของตน ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา หรือเห็นโลกและชีวิตตามความเป็นจริง กาย เวทนา จิต ธรรมคือโลกและชีวิต กายคือโลก เวทนา จิต ธรรมคือชีวิต ถ้าคนเราเห็นโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยงเกิดดับตลอดเวลา จะไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆทั้งสิ้น แล้วก็หลุดพ้นไปจากโลกมายานี้ได้หรือหลุดพ้นไปจากวิบากกรรมของความเห็นผิดหรือความไม่รู้หรือความพอใจไม่พอใจนี้ได้
มาถึงตรงนี้แล้วพอจะมองเห็นได้ว่าตัวของคนเราทุกคนเกิดจากผลรวมของวิบากกรรมของแต่ละคนมาปั้นเป็นตัวของเรา จะเห็นว่าตัวเราจะคิดอะไรก็เป็นกรรมเรียกว่ามโนกรรม จะพูดอะไรก็เป็นกรรมเรียกว่าวจีกรรม จะทำอะไรก็เป็นกรรมเรียกว่ากายกรรม จะเห็นว่าตัวเราจะคิด จะพูด จะทำอะไรก็เอาวิบากกรรมของตัวเราทั้งหมดไปคิด ไปพูด ไปทำ เอากรรมเก่ามาสร้างกรรมใหม่ตลอดเวลาอย่างนี้ กรรมเก่าคือตัวเราทั้งหมดแล้วตัวเราไปคิด ไปพูด ไปทำอะไรก็หมายความว่าเอากรรมเก่าไปสร้างกรรมใหม่ถ้ากรรมเก่าผิดกรรมใหม่ก็ผิดไปด้วย พระพุทธเจ้าจึงให้พวกเราวิปัสสนาภาวนาเปลี่ยนข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องไปแทนกรรมเก่าที่ผิด ต่อไปเราก็เอากรรมเก่าที่ถูกต้องไปสร้างกรรมใหม่ที่ถูกต้องให้กับตัวเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการดำเนินชีวิตของเราให้ถูกต้องตามที่มันเป็นจริงแล้วพัฒนาต่อไปจนคนเราอยู่เหนือวิบากกรรมได้
พระพุทธเจ้าได้วางหลักปฏิบัติให้คนเราอยู่เหนือกรรมได้ดังนี้คือ
หลักของอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งมีองค์ธรรมดังนี้

เราจะเห็นว่าอริยมรรคมีองค์ 8 จะมีสัมมานำหน้าทุกองค์ธรรม สัมมาคือกฎธรรมชาติ 2 กฎที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สรุปเอาไปใช้คือ ไม่เที่ยงเกิดดับ อริยมรรคมีองค์ 8 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เรียกว่า มโนกรรม
ส่วนที่ 2 คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เรียกว่า วจีกรรม
ส่วนที่ 3 คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เรียกว่า กายกรรม
เวลาปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ต้องเอาไม่เที่ยงเกิดดับนำหน้ามโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม มีความหมายอย่างเดียวกันกับเอาสัมมานำหน้าองค์ธรรมของอริยมรรคมีองค์ 8 ทั้ง 8 องค์ นี่คือปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ถูกต้อง ถูกธรรม สมควรแก่ธรรม ไม่ใช่เอาองค์ธรรมแต่ละอันไปปฏิบัติโดยตรง เพราะธรรมชาติเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างนี้ เอาไม่เที่ยงเกิดดับนำหน้ามโนกรรม เอาไม่เที่ยงเกิดดับนำหน้าวจีกรรม เอาไม่เที่ยงเกิดดับนำหน้ากายกรรม (การเคลื่อนไหว) หรือใช้อย่างนี้ ไม่เที่ยงเกิดดับ ความคิดไม่เที่ยงเกิดดับ ไม่เที่ยงเกิดดับ คำพูดไม่เที่ยงเกิดดับ ไม่เที่ยงเกิดดับ การเคลื่อนไหวไม่เที่ยงเกิดดับ ฝึกวิปัสสนาภาวนาท่องจำอย่างนี้จนเป็นปกตินิสัยประจำวัน กฎธรรมชาติ 2 กฎ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็จะเป็นข้อมูลสัญญาความจำเอาไปทำซ้ำตลอดเวลา ไม่เที่ยงเกิดดับก็จะเป็นความเคยชินใหม่ของชีวิต ยกตัวอย่าง เห็นอะไรก็จะมีไม่เที่ยงเกิดดับนำหน้า ไม่มีความพอใจ ไม่พอใจเกิดขึ้นเหมือนกับสมัยก่อน เช่น เห็นรถยนต์ใหม่ ไม่เที่ยงเกิดดับ รถยนต์ใหม่จบเลย ไม่มีความพอใจไม่พอใจปรุงแต่งต่อ ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อย่างนี้เรียกว่าสร้างความสุขถาวรให้กับตัวเองที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจตลอดเวลา ในที่สุดความสุขถาวรก็จะไปอยู่ที่ใจเป็นสัญญาความจำเต็มใจ ไม่มีที่ว่างให้ใจเก็บความทุกข์ได้ กรรมและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับคนเราในตอนนั้นเรียกว่ากริยาจิตเท่านั้น ไม่มีผลเป็นทุกข์เป็นสุขหรือเป็นบุญเป็นบาปเรียกว่านิพพาน นี่คือเป้าหมายของคนเราทุกคนที่มาเกิดเป็นคน ตั้งใจไว้จะไปให้ถึง ไปถึงแค่เปลือกกระพี้เท่านั้น คือสุขชั่วคราว เข้าไปไม่ถึงแก่นคือสุขถาวร เพราะคนเราประมาท ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลยที่เป็นสาระ แม้แต่สิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็ยังไม่เคยรู้เลย สิ่งนั้นก็คือตัวของเราเอง ทุกคนมองข้ามเลยไป ไม่ค่อยมีใครสนใจ ทำไมเป็นอย่างนี้ คำตอบก็คือ กรรมลิขิต

Top comments (0)